ชีวิตจักดำรงอยู่ได้ อยู่ดี มีทุกข์น้อย นอกจากต้องอาศัยอาหารเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกาย
อากาศเป็นเครื่องยังชีวะให้ดำรงอยู่
อาการเป็นเครื่องบริหารร่างกายให้มีประสิทธิภาพ
ต่อไปก็จะเขียนถึงอารมณ์
อารมณ์เป็นเครื่องควบคุมความสมดุลของอาหาร อากาศ อาการ ซึ่งก็จะทำหน้าที่สำรวจตรวจสอบ คัดแยกขยะ ลดมลภาวะ และกำจัดสิ่งที่เป็นโทษ สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาออกจากอาหาร อากาศ อาการ เหล่านี้คือความหมายของการทำหน้าที่ของอารมณ์ ที่แสดงไว้ในคัมภีร์อายุรเวท
แต่ถ้าเป็นอารมณ์ในพุทธธรรมนั้นหมายถึง เครื่องปรุงแต่งจิต เครื่องครอบ เครื่องย้อม เครื่องฉาบ เครื่องทา เครื่องกั้น ที่เข้ามาทำให้จิตแปรปรวน วุ่นวาย ทุรนทุราย ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ สับสน อึดอัด ขัดเคือง คับแค้น ซึมเศร้า หงอยเหงา
นี่ยังไม่รวมอารมณ์รัก โลภ โกธร หลง โง่ อีกนะ
ในพุทธธรรมท่านแยกอารมณ์ดังกล่าวออกจากจิตอย่างชัดเจน ทั้งยังได้แสดงเหตุเกิดแห่งอารมณ์ดังกล่าว ว่าล้วนเกิดมาจากความโง่ และตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า ถ้าโง่แล้วมอง ก็จะเกิดอารมณ์
โง่ แล้วฟัง ก็เกิดอารมณ์
โง่ แล้วดม ก็เกิดอารมณ์
โง่ แล้วกิน ก็เกิดอารมณ์
โง่ แล้วสัมผัส ก็เกิดอารมณ์
โง่ แล้วไม่มีสติระมัดระวังใจหรือจิต ก็จะทำให้เกิดอารมณ์
รวมความแล้ว อารมณ์มีเหตุมาจากความโง่ ที่รู้ไม่เท่าทันตามความจริง
ก็จักทำให้หลงมัวเมาตกเป็นทาสทางตา ทาสทางหู ทาสทางจมูก ทาสทางปาก ทาสทางกาย และทาสทางใจ
และเมื่อใดความเป็นทาสเกิดขึ้นแก่กาย ไม่ว่าจะทางใด ย่อมก่อให้เกิดการเสียสมดุล เกิดทุกข์ทางกายและทางใจตามมา
ฉะนั้นในคัมภีร์อายุรเวท จึงจัดอารมณ์เป็นเหตุให้ชีวิตนี้เป็นสุขได้และก็เป็นทุกข์ได้
ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะสามารถมีสติควบคุมอารมณ์ ที่จะเกิดได้มากน้อยเพียงใด
แม้ในคัมภีร์จะไม่ได้แสดงถึงคำว่า “สติ” แต่เราท่านทั้งหลาย ก็สามารถต่อยอดความรู้ได้ด้วยการศึกษาพุทธธรรมในเรื่อง “สติ”
พุทธะอิสระ

Food, air, behaviors, and emotions are factors to maintain and nourish one’s life. (Part 3)
March 26, 2021
One can live a good life with little suffering due to various factors.
Food helps nourish the body.
Air helps sustain one’s life.
Behaviors effectively exercise the body.
Next, I will write about emotions.
Emotions help balance food, air, and behaviors. Emotions help inspect, classify, reduce and get rid of negative and undesirable things out of food, air, and behaviors. These define duties of emotions, as described in the Ayurveda Bible.
However, in Buddhism, emotions mean mental formations or elements that dominate, color, coat, smear, and block one’s minds. Emotions bring about changes, disorder, distress, distraction, fretfulness, annoyance, confusion, discomfort, resentment, rancor, depression, and loneliness in one’s mind.
This has not included emotions of love, greed, anger, obsession, and ignorance.
Buddhism teaches us to clearly separate emotions from minds. Causes of such emotions are ignorance and senses from eyes, ears, nose, tongue, body, and mind.
Being ignorant and see, emotions occur.
Being ignorant and listen, emotions occur.
Being ignorant and smell, emotions occur.
Being ignorant and eat, emotions occur.
Being ignorant and touch, emotions occur.
Being ignorant, unconscious, and not cautious of one’s mind, emotions occur.
In conclusion, all emotions result from ignorance and not realizing things according to facts.
Then, one becomes obsessed with and becomes slave of desirable things of eyes, ears, nose, mouth, body, and mind.
Once slavery occurs to body, whichever way it comes from, it results in imbalance and sufferings to body and mind.
Consequently, the Ayurveda Bible regards emotions as causes of happiness and sufferings.
It depends how much one has consciousness to control emotions which are going to happen.
Although the Ayurveda Bible does not mention “consciousness”, but we can learn more about “consciousness” from Buddhism.
Buddha Isara