พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเพื่อสานสัมพันธ์กับชาติฝรั่งชาวยุโรป ๑๐ กว่าประเทศ จนเป็นข่าวโด่งดังเกรียวกราว เป็นที่กล่าวขวัญของฝรั่งอย่างเอิกเกริก หนังสือพิมพ์ของแต่ละประเทศนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่ว
เมื่อทรงเห็นว่า เสด็จเชื่อมสัมพันธไมตรีกับหลายประเทศได้ในระดับหนึ่งแล้ว จึงเสด็จกลับสยาม สิ้นเวลาไปเกือบ ๙ เดือน
ทรงเสด็จนิวัติกลับถึงสยามในวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๐
แต่ปัญหาการแย่งชิงดินแดนอุษาคเนย์ ระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษก็หาได้ยุติลงโดยเร็วไม่
ฝรั่งเศสเมื่อเห็นว่า อังกฤษเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาใกล้สยามมากขึ้น จึงรั้งกองทัพของตนเอาไว้ ที่หัวเมืองจันทบูรณ์ โดยยังไม่ยินยอมถอนทหารออกไปจากดินแดนสยาม ตามที่เคยตกปากรับคำเอาไว้กับพระเจ้าแผ่นดินสยาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ จึงทรงหาวิธียุติปัญหาที่สยามกำลังจะถูกฝรั่งยึดครองโดยเร็ว ด้วยการทรงส่งพระราชสาสน์ขอคำปรึกษาไปยังพระสหายที่สนิทกันมาก ในพระราชวงศ์ฝรั่งเศส นั้นก็คือ เจ้าหญิงมารี วัลเดอมาร์ ที่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย วัลเดอมาร์ แห่งพระราชวงศ์เดนมาร์ก
เจ้าหญิงมารี ในฐานะเจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศสพระองค์นี้ เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งที่เจ้าหญิงมารีเคยมีพระราชหัตถ์เลขาส่งมายังสยาม เพื่อขอพระกรุณา อนุญาตให้เจ้าชายเฮนรี พระอนุชาเข้าสยามอีกสักครั้ง
หลังจากที่เคยถูกสยามขับให้ออกไปจากแผ่นดิน เพราะเข้ามาสอดแนมกิจการภายในของสยาม
ในเวลาต่อมา เจ้าชายเฮนรี ทรงมีพระราชภารกิจจำเป็นและสำคัญยิ่ง ที่จะต้องเข้ามาอยู่ในสยามอีกครา
เจ้าหญิงมารี จึงทรงมีพระราชสาสน์ขอพระราชทานราชานุญาต ให้น้องชายเข้าประเทศสยามอีกครา โดยสัญญาว่า จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวต่อกิจการภายในของสยาม
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจาอยู่หัว ด้วยทรงเห็นแก่ไมตรีที่ทรงมีมาอย่างยาวนานต่อเจ้าหญิงมารี จึงทรงมีพระราชานุญาตตามที่เจ้าหญิงมารีทรงขอมา
ด้วยน้ำพระทัยที่พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงแสดงให้เจ้าหญิงมารีได้ทรงประจักษ์ คราที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงมีพระราชสาสน์ขอคำปรึกษาเจ้าหญิงมารีในฐานะทรงเป็นเจ้าหญิงของฝรั่งเศส จึงทรงแข็งขันกระตือรือร้นที่จักช่วยสยามด้วยการเจรจากับ นายเดกัสเช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ให้ถอนกำลังออกจากจันทบูรณ์
ปรากฏว่าครานี้ได้ผล ฝรั่งเศสยินยอมถอนทหารออกจากจันทบูรณ์ แต่ฝรั่งเศส จอมเจ้าเล่ห์ ก็หาได้ยอมถอนทหารออกไปจากแผ่นดินสยามโดยง่ายไม่
จึงนำเอาเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินสยาม เรียกร้องให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ที่ไม่เป็นธรรมต่อสยาม
ร่างอนุสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศสนี้ จึงได้ถูกเขียนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๗ โดยกำหนดให้สยามต้องยอมแลกดินแดนฝั่งลาว ที่สยามครอบครองอยู่ทั้งหมดให้กับฝรั่งเศส และให้สยามถอนกำลังทหารออกมาให้ห่างลำน้ำโขง อย่างน้อย ๑ กิโลเมตร
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรึกษาหารือกับข้าราชบริพารและพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ทุกคนมีความเห็นเป็นอันเดียวกันว่า
สยามยอมเสียแผ่นหนัง ดีกว่าที่ต้องสูญเสียเนื้อ
สยามจึงจำต้องเซ็นยอมรับอนุสนธิสัญญาอีกครั้ง
หลังจากนั้น ฝรั่งเศสจึงถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี แต่ก็ยังรั้งกำลังทหารเอาไว้ที่ปลายแหลมเมืองตราด ที่อยู่ติดกับเขตแดนเขมร
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 15)
February 7, 2021
His Majesty King Chulalongkorn (King Rama V) visited Europe for the first time to establish diplomatic relations with over ten European countries. News about the King’s visit to Europe was extensively spread and talked among Europeans. Each country’s newspapers widely publicized the news.
When the King saw that the visit to Europe was successful to a certain extent, the King returned to Siam. The voyage to Europe took almost nine months.
The King arrived at Siam on December 17, 1897.
Nevertheless, the fight between France and the United Kingdom to seize Southeast Asia did not end quickly.
Seeing that the United Kingdom started to expand its influence closer to Siam, France decided to remain its army at Chanthaboon (Chanthaburi province). France did not withdraw its army out of Siam, as it had earlier promised to the King of Siam.
King Chulalongkorn (King Rama V) tried to find a quick solution in protecting Siam from the French seizure. The King sent a royal letter to seek advice from a close friend, Princess Marie d'Orléans. Princess Marie d'Orléans was a French princess by birth and married to Prince Valdemar of Denmark.
Princess Marie d'Orléans, a French princess had previously received a royal grace from King Chulalongkorn. Princess Marie used to send a royal letter asking permission for Prince Henri of Orléans, her younger brother, to enter Siam again.
Earlier, Prince Henri of Orléans had been ousted from Siam after having interfered with internal affairs of Siam. Later, Prince Henri had a necessary and very critical mission for coming to Siam another time. Consequently, Princess Marie sent a royal letter asking permission from King Chulalongkorn to let her younger brother enter Siam again with a promise that the Prince will not get involved with Siam’s internal affairs.
In consideration of a long-time friendship with Princess Marie, King Chulalongkorn gave a permission per the request of the Princess.
Acknowledging of King Chulalongkorn’s amity, Princess Marie received a royal letter seeking for her advice and was very enthusiastic to help Siam. Princess Marie negotiated with Louis Decazes, Minister of Foreign Affairs to withdraw French army out of Chanthaboon.
The result was successful. France withdrew its troop out of Chanthaboon. However, the tricky French did not easily withdraw its soldiers out of Siam.
Therefore, France brought up that the King of Siam had earlier asked for amendment of the Treaty which was unfair for Siam.
The draft convention between France and Siam of 1904 stipulated that Siam had to give Laotian land occupied by Siam to France in exchange for the withdrawal of French troop to be at least one kilometer away from the Khong River.
King Chulalongkorn sought consultation from the royal family and court officials.
They all agreed that Siam would rather lose skin than flesh.
Therefore, Siam was obliged to sign the convention with France.
After that, France withdrew its troop out of Chanthaburi, but still left its soldiers at the end of Trat province’s peninsula which was adjacent to Cambodian border.
To be continued.
Buddha Isara