พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสที่เป็นคู่ขัดแย้งโดยมิได้ทรงหวั่นเกรง
และด้วยการประสานงานของรัสเซีย มหามิตรของสยาม
ฝรั่งเศสให้การต้อนรับขบวนเสด็จขององค์ประประมุขของสยามอย่างสมพระเกียรติ พร้อมจัดพระกระยาหารค่ำถวายแด่องค์พระประมุขของสยาม
ขณะเดียวกันในโต๊ะพระกระยาหาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงเปิดการเจรจากับฝรั่งเศสให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเล็กๆ น้อยๆ ทางการเมืองแก่สยามและในการเจรจาครั้งนี้ ฝรั่งเศสยอมตกปากรับคำว่าจะนำเรื่องนี้ไปเปิดการเจรจากับสยามต่อที่กรุงเทพฯ
ในระหว่างที่ สมเด็จพรเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงเสด็จเยือนฝรั่งเศสอยู่นั้น ทรงมีพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ถึง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีว่า แม่เล็ก
“ถึงแม่เล็ก,
ด้วยตั้งแต่ฉันออกมาครั้งนี้ ยังไม่เคยได้ความคับแค้นเดือดร้อนเหมือนอย่างครั้งนี้เลย การที่แม่เล็กรู้สึกหนักในเรื่องที่ฉันจะมาเมืองฝรั่งเศสประการใด ขอให้เข้าใจว่าฉันหนักกว่าสิบเท่าอยู่แล้ว เพราะเป็นผู้ที่มาเอง”
อธิบายขยายคำว่า “ความคับแค้นเดือดร้อน” ของพระเจ้าอยู่หัว ร.๕
“ความคับแค้นเดือดร้อน” ดังกล่าวปะทุขึ้นเมื่อ ๔ ปีก่อน สยามต้องเจ็บช้ำน้ำใจจากกรณีพิพาทครั้งสำคัญกับฝรั่งเศส ในเหตุการณ์วิกฤติการณ์ปากน้ำหรือวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (Franco-Siamese War) เมื่อปี ๒๔๓๖ สถานการณ์ทางการเมืองที่อ่อนไหวในยุคล่าอาณานิคมผูกติดไว้กับเอกราชของชาติไทยด้วยอำนาจที่เป็นรอง สยามจึงต้องยินยอมผ่อนปรนโดยการจ่ายค่าปรับมหาศาล อีกทั้งเสียดินแดนประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรอมพระทัยจนทรงพระประชวรหนัก มิเสวยพระพระกระยาหารและพระโอสถ ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์โคลงในทำนองอำลาพระประยูรญาติด้วยมิอาจทานทนความทุกข์โทมนัสในครานั้นได้
อีกทั้งยังทรงมีพระราชหัตถเลขาเล่าต่อว่า
“แต่เมื่อครั้นมาถึงปารีสเข้า เขาก็รับรองอย่างแข็งแรง” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในสมัยนั้นคือ เฟลิกซ์ โฟร์ (Felix Faure) จัดการรับรองอย่างยิ่งใหญ่และมารับเสด็จฯ ถึงสถานีรถไฟ Gare du Nord แห่งกรุงปารีสทรงกล่าวเพิ่มเติมว่า “การที่เขาทำเช่นนี้ ผู้ซึ่งมีสัญญาไม่วิปลาสคงจะเข้าใจได้ว่า เขาไม่ได้ทำด้วยกลัวเกรงอำนาจเราอย่างใด ทำด้วยเห็นแก่พระบารมีเอมเปอเรอ” ด้วยเมื่อปีกลายเอมเปอเรอซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย ผู้ซึ่งฝรั่งเศสเกรงขามและเกรงใจเพิ่งเสด็จฯ เยือนกรุงปารีส จักรพรรดิองค์นี้เป็นพระสหายสนิทของรัชกาลที่ ๕ ด้วยพระองค์เคยเสด็จฯ เยือนประเทศสยามเมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ

There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 14)
January 30, 2021
His Majesty King Chulalongkorn (King Rama V) visited France, the country which had conflict with Siam, without any fear.
With coordination and support from Russia, the great ally of Siam, France extended a grand welcome with guard of honor and reception dinner for the head of Siam’s visit.
At the dinner table, King Chulalongkorn opened a negotiation with France to mediate on miscellaneous political disputes. During this negotiation, France agreed to continue the negotiation with Siam in Bangkok.
While the King Rama V was visiting France, he had a private writing to Queen Saovabha Phongsri who was appointed to be regent. The King called Queen Saovabha Phongsri’s nickname as Lek.
“My dearest Lek,
Since the start of my voyage, I have never felt miserable like this time. That you are worried about my visit to France, please note that mine is ten time more, because I am the one to experience it myself.”
Explanation of the word “miserable” of the King.
Such “misery” took place four years earlier. Siam was struck with grief resulting from the major conflict with France, called the Franco-Siamese War in 1893. At that time, Siam was inferior amidst sensitive political environment of colonialism. To protect national independence, Siam compromised by paying huge indemnity and lost an area of approximately 140,000 square kilometers. King Chulalongkorn was so devastated that he fell seriously ill and could not take either meal or medicine. The King even wrote a poem as a farewell the royal family because he could no longer bear his grief and suffering.
The King continued his writing as follows…
“When we arrived in Paris, they received us with a grand welcome.” King Chulalongkorn said in his private writing. Felix Faure, the President of France, prepared a great reception and came to receive the King at the Gare du Nord railway station of Paris. The King additionally said, “The reason why they did that, sane people would know that they did that not because they honored us but because of their respect for the emperor.” Tsar Nicholas II of Russia, whom France respected, had visited Paris the year before. The Russian emperor is a close friend of King Chulalongkorn, because the emperor used to visit Siam when he was a crown prince.
Buddha Isara