ความเดิมตอนที่แล้วจบลงตรงที่ อังกฤษทำข้อตกลงกับฝรั่งเศส ในการที่จะให้สยามเป็นรัฐกันชนระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากสยาม
ข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ได้แบ่งแยกประเทศที่สยามปกครองอยู่ เช่น ลาว เขมร ญวน แหลมมลายู และหัวเมืองทางเหนือที่ติดกับพม่า ออกจากสยาม ซึ่งประเทศราชและหัวเมืองเหล่านี้ ล้วนมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งสินแร่ ป่าไม้ งาช้าง และพืชสมุนไพร เครื่องเทศ ที่พวกฝรั่งต้องการยิ่งนัก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหวั่นเกรงต่อแผนเลวร้ายของพวกฝรั่งทั้งสองชาติเป็นอย่างมาก ทรงปริวิตกว่า หากสยามอยู่เฉยๆ ไม่คิดทำการใดเลย ท้ายที่สุดแผ่นดินสยาม จะต้องตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่ง และจักถูกสูบเลือดสูบเนื้อจนหมดเป็นแน่
อีกทั้งพระองค์ หาได้ยินยอมให้ชาติใด เข้ามาครอบงำสยาม แล้วนำพาสยามไปเป็นรัฐกันชนระหว่างสองขั้วอำนาจที่ไล่ล่าอาณานิคมไม่
ในเวลานั้น เจ้าพระยาอภัยราชา ที่ปรึกษาระหว่างประเทศชาวเบลเยียม จึงบังคมทูลถวายคำแนะนำต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ให้ทรงเสด็จเยือนยุโรป เพื่อยืนยันให้พวกฝรั่งได้รับรู้ถึงอธิปไตย และแสดงออกถึงความสัมพันธ์อันดี ที่สยามมีต่อชาติยุโรป มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก
อีกทั้งสยามก็มิเคยตกเป็นรัฐกันชน หรือเมืองขึ้นของชาติใด ตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ทั้งสยามยังมีอำนาจปกครองลาว เขมร ญวน แหลมมลายู และหัวเมืองเหนือ ที่อยู่ติดรัฐพม่ามาเนิ่นนาน
พร้อมทั้งเสด็จกระชับความสัมพันธ์กับมิตรเก่าอย่างเดนมาร์ก และอิตาลี รวมทั้งแสวงหาการรับรองเอกราชจากพันธมิตรใหม่ๆ อย่างเช่น เยอรมนี และรัสเซีย อันเป็นสองประเทศที่กำลังก้าวขึ้นมามีอำนาจทั้งทางการทหาร เศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างประเทศ
หากสยามสามารถเป็นพันธมิตรกับสองประเทศมหาอำนาจนี้ และได้รับการสนับสนุน อังกฤษ และฝรั่งเศสจักยำเกรง ไม่กล้ามาข่มขู่กับสยามได้อีก
ถ้าสามารถได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี และรัสเซียแล้ว สยามยังจะสามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่เสียเปรียบ ที่ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนามยอมรับใน ร.ศ.๑๑๒ ให้ยกเลิกได้
เจ้าพระยาอภัยราชา ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศชาวเดนมาร์ก ได้ถวายคำแนะนำต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ดังนี้แล้ว ยังได้ถวายคำแนะนำต่อว่า การเยือนต่างประเทศในครานี้ลำบากเพียงใด ก็คงจะต้องเสด็จ
เพราะทรงอยู่ในสถานะ องค์พระประมุขของสยาม จักเป็นจุดสนใจของชาวยุโรปที่ได้พบเห็น และทำให้องค์พระประมุขของประเทศนั้นๆ ถวายการต้อนรับให้สมพระเกียรติยศ
เมื่อข่าวนี้แพร่ขยายออกไป จักสามารถทำให้องค์พระประมุขของ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ยำเกรงในพระบารมี
คงมิกล้าทำการข่มเหงสยามต่อไปอีก
(เหล่านี้คือเหตุผลหลัก ในการเสด็จประพาสยุโรปขององค์พระเจ้าอยู่หัว ร.๕)
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ
 
 

There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 10)
January 13, 2021
The last chapter ended when the United Kingdom signed a Treaty with France to have Siam as a buffer state between France and the United Kingdom, without Siam’s prior consent.
The Treaty between the United Kingdom and France separated countries governed by Siam such as Laos, Cambodia, Vietnam, the Malay Peninsula, and northern provinces adjacent to Myanmar, from Siam. These protectorates and provinces were rich with natural resources, ores, forests, ivories, herbs, and spices that Westerners highly demanded.
King Chulalongkorn was very concerned about the wicked plans of the two Western countries. The King was afraid that if Siam did not take any action, in the end, Siam would become a colony of Westerners who would drain all the resources of the country.
Also, the King would not let any country take control over Siam and make Siam a buffer state between the two colonial superpowers.
At that time, Chow Phya Abhai Raja (Gustave Rolin-Jaequemyns), a Belgian foreign affairs advisor, recommended King Chulalongkorn visit Europe so that the Westerners and the world would witness Siam’s sovereignty and good relations with European countries which had started from the Ayutthaya Kingdom.
In addition, Siam never was a buffer state or a colony of any country since the beginning of the Rattanakosin Kingdom. Siam had also governed Laos, Cambodia, the Malay Peninsula, and northern provinces adjacent to Myanmar, for a long period of time.
The King also visited old allies like Denmark and Italy to strengthen relationship and to seek confirmation of Siam’s sovereignty from new alliance like Germany and Russia because these two countries became increasingly powerful in military, economy, and international politics.
If Siam could become allies and get support from the two superpowers, United Kingdom and France would respect and would not dare to threaten Siam afterwards.
If Siam could get support from Germany and Russia, Siam would be able to revoke some disadvantageous agreements that France forced Siam to sign during the Franco-Siamese War in 1893.
In addition, Chow Phya Abhai Raja (Gustave Rolin-Jaequemyns), a Belgian foreign affairs advisor, recommended King Chulalongkorn (King Rama V) that the King must visit Europe, no matter how difficult the visits would turn out to be.
That was because, as Siam’s head of state, his visit would draw attention of Europeans, and the king of each European country would provide a gracious welcome that deserved the King’s royal prestige.
When the news spread, the French and the British heads of state would beware of the King’s prominence.
Then, they would no longer dare to threaten Siam.
(These were main reasons of King Rama V’s visits to Europe.)
To be continued…
Buddha Isara