ตอนที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปริวิตกถึงสถานการณ์ที่ฝรั่งเศส ยกกองเรือรบเข้ามารุกล้ำอธิปไตยของแผ่นดินสยาม
ถึงขนาดทรงมีพระราชเลขาระบายความในพระทัยว่า ต่อให้ฝรั่งเศสเอาปืนมาจ่อตรงหน้า หรือจะจับพระองค์ไปลงเรือ พระองค์ก็จะไม่ยอมจำนนเด็ดขาด
วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสส่งคำเตือนมายังรัฐบาลสยามว่า ได้ส่งกองเรือรบเดินทางมาถึงไช่ง่อนแล้ว หากมีเหตุจำเป็นก็จะสั่งเรือรบเข้ามาประชิด กรุงเทพฯ ทันที
ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เกณฑ์ทหาร ๑,๘๐๐ นาย เข้ามาประจำในกองทัพเพิ่ม เพื่อเตรียมรับมือกับฝรั่งเศส
ในวันต่อๆ มายังทรงเสด็จมาทอดพระเนตรการฝึกทหาร ณ ที่ว่าการกระทรวงการเกษตราธิการอย่างต่อเนื่อง
มีอยู่ช่วงหนึ่งทรงเสด็จเข้าไปตรัสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ที่หมอบเฝ้าอยู่เบื้องหน้า ทรงก้มพระองค์เข้าไปใกล้ๆ พร้อมทรงวางพระหัตถ์ขวาลงบนไหล่ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พร้อมทรงตรัสว่า “ในวันนี้แหละ ไม่เราก็เขาแล้ว” ขอให้ทหารทุกๆ คนจงต่อสู้เพื่อแผ่นดินสยามอย่างเต็มที่
ในช่วงเวลานั้น ประชาชนคนสยามทุกคน ต่างตื่นตัว แสดงความรักชาติด้วยการมาให้กำลังใจลูกหลานที่เป็นทหารกันอย่างล้นหลาม บ้างก็ขนข้าวสารอาหารแห้ง ขนม ข้าวต้ม ส้มสุกลูกไม้ เครื่องรางของขลัง ถูกส่งมาเป็นขวัญกำลังใจ ให้แก่ทหารกันอย่างล้นหลาม ดังคำกล่าวที่ว่า ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบก็ไม่ขลาด
สถานการณ์การฝึกทหารใหม่ ดำเนินผ่านไปได้ยังไม่ถึงเดือน สิ่งที่คนสยามทุกคน ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นจนได้
วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เรือรบฝรั่งเศสก็แล่นเข้ามาประชิดเมืองท่าปากน้ำเจ้าพระยา
เรือรบของฝรั่งเศส ๓ ลำ พร้อมอาวุธหนักเบาเต็มพิกัด บุกเข้ามาจนเกือบจะถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า
พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (ผู้บัญชาการทหารเรือชาวเดนมาร์ก) เป็นผู้อำนวยการป้องกันทางน้ำในสมัยนั้น ได้สั่งให้ยิงปืนใหญ่บนป้อมพระจุลจอมเกล้า เพื่อเตือนไม่ให้เรือรบของฝรั่งเศส รุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยา แต่ขบวนเรือรบฝรั่งเศสหาได้หยุดไม่ ซ้ำยังชักธงรบขึ้นยอดเสา พร้อมทั้งระดมยิงใส่ป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นห่าฝน
กองทัพเรือฝ่ายสยาม จึงยิงกระสุนจริงตอบโต้เป็นสามารถ กองเรือรบของฝรั่งเศสลำหนึ่งต้องเบนหัวเรือให้พ้นวิถีกระสุนของฝ่ายสยาม จนทำให้ไปเกยตื้นที่สันดอนกลางแม่น้ำ
แต่เรือรบของฝรั่งเศสอีกสองลำ สามารถหลบฝ่ากระสุนของฝ่ายสยาม แล่นเข้ามาสู่แม่น้ำเจ้าพระยาชั้นในได้
พระยาชลยุทธโยธินทร์ แม่ทัพเรือชาวเดนมาร์กจึงนำเรือรบพระที่นั่งมหาจักรี ตามเรือรบของฝรั่งเศสมาติดๆ ด้วยหวังใจว่า เมื่อใช้อาวุธสู้กับเรือรบของฝรั่งเศสไม่ได้ ก็จะใช้เรือมหาจักรีพุ่งชนแลกกับมันให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งทรงทราบ จึงทรงทัดทานไว้ ด้วยทรงเห็นว่า แม้จะยอมใช้เรือรบมหาจักรีพุ่งชนเรือรบของฝรั่งเศสได้ ๑ ลำ แต่ฝรั่งเศสก็ยังมีเรือรบอยู่อีก ๑ ลำ
เมื่อสยามยอมเสียส่วนน้อย แต่ไม่สามารถกำจัดเรือส่วนใหญ่ได้ จึงไม่ควรจะเสียทั้งเรือและไพร่พลทหาร
ว่ากันว่า พระยาชลยุทธโยธินทร์ แม่ทัพเรือชาวเดนมาร์ก พอพระเจ้าอยู่หัวทรงทัดทานเช่นนั้น ถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความเสียใจ ที่ตนเองไม่สามารถทำให้สยามมีชัยในการรบครั้งนี้ได้ ทั้งยังต้องมายอมจำนนต่อฝรั่งเศสพาลพวกนี้อีก
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 4)
January 6, 2021
The last chapter ended when His Majesty King Chulalongkorn was worried that French warships violated into the territory of Siam.
His Majesty wrote a letter to get it off his chest that though the French put the gun against his face or capture him into its boat, he would never surrender.
On June 23, 1893, France sent a warning to Siamese government that French warships had arrived at Saigon. If necessary, French warships would come to Bangkok right away.
On that date, King Chulalongkorn told Field Marshal Chaophraya Surasakmontri to recruit more 1,800 soldiers into the army to prepare for the battle with France.
Later, the King continuously came to watch military trainings at the Ministry of Agriculture.
There was a moment that the King said to the Field Marshal Chaophraya Surasakmontri who was prostrating in front of him. The King bent himself closer and laid his right hand on the Field Marshal’s shoulder and said, “Today, it is either we or they. I wish every soldier will fight his best for Siam.
During that period, all Siamese were enthusiastic to demonstrate their patriotism by giving lots of morale support to soldiers. Some brought rice, dried food, desserts, fruits, and good luck charm as gifts to the soldiers. Like the saying “Thais are peaceful but brave in the battlefield.”
New soldiers trainings had taken place less than a month. What all Siamese did not want finally happened. On July 13, 1893 (Franco-Siamese War), French warships sailed close to the seaport at the mouth of the Chao Phraya River.
Three French warships fully loaded with weapons and ammunition came close to the Chulachomklao Fort.
Vice Admiral Andreas du Plessis de Richelieu, with a Thai noble title, Phraya Chonlayutthayothin, a Danish admiral of the Thai navy, ordered cannon firing from the Chulachomklao Fort. The firing was meant to warn French warships not to invade into the Chao Phraya River’s territory. However, the French warships did not stop but raised their battle flags to the top of the poles and bombarded the Chulachomklao Fort with continuous shooting.
The Siamese navy fired back. Then, a French warship bent its head to avoid Siamese gunfire and got stuck at a delta in the middle of the river.
But the other two French warships could dodge Siamese bullets and sailed to the inner part of the Chao Phraya River.
Phraya Chonlayutthayothin, the Danish admiral, therefore, sailed the Maha Chakri Warship, following the French warship closely. He thought that Siamese weapons would not win those of the French. So, he wanted the Siamese ship to collide with the French ship.
When the King knew about his idea, he opposed it. Although the Maha Chakri Warship could hit a French warship, but there was still one French warship left.
When Siam was willing to lose the minor, but could not get rid of the majority warships, it was not worth losing both the ship and the lives of soldiers.
They say when the King objected the idea, Phraya Chonlayutthayothin, the Danish admiral, cried with sadness because he could not make Siam win that war and had to submit to those French rascals.
To be continued…
Buddha Isara