ตอนที่แล้วจบลงตรงที่ ฝรั่งเศสใช้กำลังของสองประเทศ ทำการรบพุ่งกับกองทัพสยาม จนบีบให้สยามเจรจาสงบศึก และนำมาซึ่งการทำสนธิสัญญาเมืองแถง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑
เวลาต่อมาฝรั่งเศสตั้ง นายโอกุสต์ ปาวี เป็นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีถิ่นพักนำอยู่ในกรุงเทพ หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตประจำสยามแล้ว นายปาวี ก็เริ่มดำเนินแผนยึดครองแผ่นดินสยาม ด้วยการใช้กำลังทหารกดดันรัฐบาลไทย และราชสำนักในเวลานั้นให้ยอมจำนน
เมื่อเห็นว่ารัฐบาลสยามไม่ยินยอมแต่โดยดี นายปาวี จึงสั่งให้เรือปืนใหญ่ แล่นเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ณ หัวเมืองสมุทรปราการ
ในเวลานั้น กองกำลังป้องกันปากแม่น้ำของสยามได้พยายามต่อสู้ ต้านทานจนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถทานยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยของฝรั่งเศสได้
จนเรือปืนใหญ่ของฝรั่งเศสบุกเข้ามาถึงป้อมปืนพระจุลจอมเกล้า และเข้ามาจอดทอดสมออยู่ฝั่งตรงข้ามของพระบรมมหาราชวัง
นี่ถือว่าเป็นวิกฤตของ ร.ศ.๑๑๒ โดยแท้
เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกลัดกลุ้มพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งที่ทรงคาดการณ์และเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้าไว้ถึง ๑๔ ปีแล้ว ด้วยการทรงเร่งพัฒนาบ้านเมืองในทุกด้านเพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศ พร้อมทั้งทรงสั่ง พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ให้เสด็จไปเลือกซื้อปืนใหญ่ และตอร์ปิโดลูกระเบิดใต้น้ำ จากประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาปกป้องรักษาเมืองท่าปากน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๒
พร้อมทั้งระดมกำลังพลเร่งสร้างป้อมตั้งปืนใหญ่อีก ๒ ป้อม ณ ริมฝั่งปากแม่น้ำ หัวเมืองท่าสมุทรปราการทั้งสองฝั่ง ทรงพระราชทานนามป้อมนั้นว่า ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมผีเสื้อสมุทร ทำหน้าที่สกัดกันไม่ให้เรือรบต่างชาติเข้ามาถึงเมืองหลวงได้
แม้ในขณะที่ไพร่พลกำลังก่อสร้างป้อมปืนใหญ่ทั้งสองยังไม่แล้วเสร็จนั้น พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเสด็จปลอมพระองค์ ออกไปเยี่ยมเยือนตรวจสอบเร่งรัดให้สร้างป้อมปืนทั้งสองอยู่เนืองๆ
ด้วยทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะรักษาเอกราชของชาติสยามเอาไว้ให้ได้
ถึงกับทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง กรมหลวงพิชิตปรีชากร ว่า
“อย่าให้มีความสงสัยว่า ฉันจะยินยอมอย่างใดแก่ฝรั่งเศสที่สุด จนเอาปืนมาจ้องหน้าให้เซ็นชื่อ ฤาจะจับตัวลงเรือไปก็ไม่ยอมเป็นอันขาด ได้จัดการให้เรือมหาจักรี เรือมกุฎราชกุมาร เรือหาญหักศัตรู เตรียมพร้อมติดไฟอยู่เสมอ เมื่อมีเหตุอันใด คงได้รบกันแหลกลาญ”
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ
There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 3)
January 5, 2021
The last chapter ended when the French and Vietnamese troops jointly fought against the Siamese army and forced Siam to sign the Treaty of Dien Bien Phu in 1888.
Later, France appointed Jean Marie August Pavie to be French Charge d’Affaires to Siam with a residence in Bangkok. After that, he followed his scheme to seize the land of Siam, by having the troops to pressure Siamese royal court to surrender.
When August Pavie saw that the Siamese government did not yield to the pressure, he ordered French gunboats to sail into the mouth of the Chao Phraya River at Samut Prakan seaport.
At the time, Siamese troops which protected the mouth of the Chao Phraya River tried their best to fight against the French assault but could not withstand French state-of-the-art weapons and ammunition.
When the French gunboat arrived at the Chulachomklao Fort and anchored at the opposite side of the Grand Palace, it was indeed the crisis of the Franco-Siamese War in 1893.
These incidents made His Majesty King Chulalongkorn (King Rama V) worried so much although he had predicted and prepared for such incidents fourteen years before. That was why King Chulalongkorn had tried to fasten country’s development in all aspects to be among civilized countries. In 1879, the King ordered Prince Sai Sanitwongse to purchase cannons and torpedo launched below the water surface from the Great Britain to protect the Paknam seaport.
To further strengthen the seaward defense and prevent foreign warships from reaching Siamese capital city, King Chulalongkorn also expedited the construction of additional two forts for firing cannons on the two sides of Samut Prakan seaport at the mouth of the Chao Phraya River. The two forts were named the Phra Chulachomklao Fort and the Phisuea Samut Fort.
Even when the two forts were under construction, King Chulalongkorn often disguised himself to inspect the construction.
The King had a determination to preserve the independence of Siam.
The King wrote a letter to Prince Pichitpreechakorn that…
“Please never doubt whether I will submit to France. Although the French put the gun against my face forcing me to sign or capture me into its boat, I will never surrender. Please have the Maha Chakri ship, the Crown Prince ship, and the Han Hak Satru ship always prepared and ready. Whenever assaults take place, we will fight to the death.”
To be continued…
Buddha Isara