การสาธารณสุขของไทย หาได้มีการวางรากฐานแต่รัฐสมัยองค์พ่อหลวง ร.๙ ไม่
แม้ในสมัยต้นราชวงศ์จักรี ขณะที่มีการก่อร่างสร้างบ้าน แปลงเมือง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ และพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล แห่งองค์ปฐมบรมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีที่ทรงเห็นความเจ็บป่วยของอนาประชาราษฎร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทรงมีความพยายามรวบรวมวิทยาการด้านสาธารณสุขในแขนงต่างๆ เอาไว้ในที่เดียวกัน ดังเช่นเมื่อรัชกาลที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชย์ หลังจากทรงย้ายพระนครจากฝั่งธนบุรี มายังฝั่งพระนครในปัจจุบัน ได้ทรงมีพระบัญชาให้ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม หรือวัดพระเชตุพนวิมลคลารามในปัจจุบัน ทรงให้เจ้าพนักงานอารักษ์ ทำการรวบรวมจารึกตำรายาสมุนไพร สำหรับแก้โรคต่างๆ สลักเอาไว้ตามผนังศาลารายรอบพระอุโบสถและพระวิหาร
อีกทั้งยังให้ช่างศิลป์เขียนภาพฤาษีดัดตน เพื่อแก้โรคทางกายของประชาชน ทั้งยังให้จัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถ ทำหน้าที่ ๒ อย่างคือ
๑. รวบรวมสมุนไพรที่ใช้ทำยา เอาไว้สำหรับรักษาผู้ป่วยไข้
๒. ทำการวินิจฉัยโรคและปรุงยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ ผู้ที่จะทำหน้าที่ทั้งสองนี้ทรงกำหนดให้เรียกว่า หมอ หากรับราชการสนองงานอยู่ในรั้วในวังก็ให้เรียกว่า หมอหลวง แต่หากทำการอยู่นอกวังให้เรียกว่า หมอราษฎร
ครั้งถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบัญชาให้กรมหมอหลวงออกรวบรวม ตำรับตำรา คัมภีร์ยา ที่สามารถปรุงยารักษาโรคได้จริง แล้วนำมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ของโรค และชนิดของสมุนไพรที่เป็นยา เวลาจะใช้จักได้ไม่ต้องเสียเวลาค้นคว้าหรือแสวงหา และทรงเรียกตำหรับยานั้นว่า “ตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถ” เอาไว้ทำการบำบัดรักษาประชาชนโดยทั่วไป
และในปี พ.ศ.๒๓๕๙ มีพระราชโองการให้ตรากฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในกรมพระโอสถ มีอำนาจออกไปแสวงหาสมุนไพร ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคได้ทั้งแผ่นดิน และห้ามมิให้ผู้ใดคัดค้าน
เรื่องดีๆ แบบนี้ พวกที่คิดจะล้มเจ้า ด้อยค่าเจ้าทำเป็นไหม
พุทธะอิสระ