Print
Hits: 2496

7 ธ ค 2555    18.00 น.  ณ.ทองผาภูมิ  ธรรมะโดยองค์หลวงปู่พุทธะ

อิสระ

(กราบ)
ถือศีลกันหมดแล้วหรือยัง (....) มากันเยอะๆ แล้วไปขี้ที่ไหน เยี่ยวที่ไหนกันวะ

(....) เอ้อ อย่าขี้ใส่ถุงพลาสติก โยนยอดไม้นะ มึง, เท่าไหร่ล่ะ (ประมาณ 400

กว่า พระอีก 65)  กินข้าวกันหรือยังล่ะ พวกมาใหม่ๆ โรงครัวเค้าทำอาหารเลี้ยงหรือ

เปล่า พวกมาใหม่ๆ ยังไม่ได้รับศีล ก็กินข้าวเสียก่อนนะ ลูก กินก่อนแล้วรับศีล ท้องอิ่มแล้ว

ค่อยมีศีล ท้องแฟบ เดี๋ยวมึงก็ไปเดินเลาะเอาตามโคนต้นมะม่วง ต้นมะกอก
ท่านบ๊าด ท่านอ้วน เอาพระ ลงมาแช่น้ำ นับ กี่ถุง
ไปนอนไหนกันอ้ายพวกนี้ มีที่นอนไม๊, หา, มานี่ ปิดเต๊นท์ ปิดประตู หน้าต่างหรือเปล่า

เดี๋ยวก็ งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะขาบตะเข็บเข้าไป นอนเป็นเพื่อน มันมีแมงป่องใบไม้
เอ้า จะทำอะไร ก็เอา
พิธีกร    ณ.โอกาสนี้ ลูกขอโอกาสที่จะทำพิธีไหว้ครูพระกรรมฐานเจ้าค่ะ เรียนเชิญ ท่านผู้

เป็นตัวแทนพระนาคเบื้องหน้าหลวงปู่ และลูกขอกราบอาราธนานิมนต์คณะสงฆ์ นำกล่าว

ในการไหว้ครูพระกรรมฐานเจ้าค่ะ กราบอาราธนานิมนต์เจ้าค่ะ
.................
พระ ผู้แทนคณะสงฆ์ :    ขอนิมนต์กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
(กราบ)
นะโม ตัสสะ (3 จบ)
ขอทุกท่านกล่าวตามข้าพเจ้า
เอ เตนะ ยันติ นิพพานัง พุทธาจะ เตสันจะ สาวะกา เอกายะ เมนะ มัชเฌนะ สติปัตฐานะ

สันนิยา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นด้วย ย่อมถึงซึ่ง

พระนิพพาน ด้วยข้อปฏิบัติใดข้อปฏิบัตินั้น รู้กันอยู่แล้วว่า ได้แก่ สติปัฏฐานทั้ง 4 ซึ่ง

เป็นหนทางอันเอกของบุคคลผู้เดียวดังนี้
อิมายะ ธัมมานุธัม มะปัตติปัตติยา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมอันนี้
เดชะพุทธา นุภาเวนะ สัทธาโสตถี ภะวันตุ เม
ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)
เดชะธัมมา นุภาเวนะ สัทธาโสตถี ภะวันตุ เม
ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)
เดชะ สังฆา นุภาเวนะ สัทธาโสตถี ภะวันตุ เม
ด้วยเดชะอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้า (กราบ)
สาธุ วันทา คุณบิดา มารดา (กราบ)
สาธุ วันทา คุณครูบาอาจารย์ (กราบ)
พิธีกร     ขอเรียนเชิญตัวแทนฆราวาสเข้าน้อมถวายพานทั้ง 2 ค่ะ
..............
(กราบ)
หลวงปู่       ทำความเข้าใจ เดี๋ยว มาแล้วจะไม่รับรู้ ไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจ บทที่พระท่านนำ

กล่าว เมื่อครู่นี่น่ะ เค้าไม่ได้เรียกบทไหว้ครูพระกรรมฐาน เค้าเรียก บทสมาทานพระ

กรรมฐาน เพราะไหว้ครูพระกรรมฐาน เค้าไม่ได้กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้กล่าวเช่นนี้
บทสมาทานพระกรรมฐาน ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือวิถีพุทธ เมื่อสมัยสอนอบรมพระ

กรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานกับพระวิปัสสนาจารย์ นั่นเค้าเรียก บทสมาทานกรรมฐาน

มหาสติปัฏฐาน 4
ขอข้าพเจ้า จงเข้าถึงซึ่งมหาสติปัฏฐาน 4 เป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว
แต่ถ้าไหว้ครูพระกรรมฐาน เค้าจะกล่าวอีกเรื่องหนึ่ง คนละอย่างกัน
ขอครูผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ ผู้รอบรู้ จงให้พระกรรมฐานแก่ข้าพเจ้า กรรมฐานอันใดอันเป็นที่

สบายแก่จริตของข้าพเจ้า ขอครูผู้มีสติปัญญา จงประทานมอบกรรมฐานนั้นแก่ข้าพเจ้า

อย่างนี้เป็นต้น งั้น คนละเรื่อง ทำความเข้าใจ
จะสมาทานกรรมฐานก็ดี ไหว้ครูกรรมฐานก็ดี แต่เมื่อสมาทานแล้ว ก็ต้องเข้าใจว่า การ

เจริญกรรมฐาน ตามภาษาชาวบ้านคงจะรู้กันทั่ว คือ การทำชีวิตไม่ให้เหมือนกับวิถีคิดของ

ชาวบ้าน
กรรม คือ การกระทำ
ฐาน คือ ที่ตั้ง
ที่ตั้ง มันอยู่ตรงไหน ก็อยู่ใน กายเรา
ในหลักมหาสติปัฏฐาน 4 พูดเอาไว้ ไม่ได้เกินจาก กาย นี้ เหมือนดั่งคำกล่าวในวันไหว้ครู

พระกรรมฐาน บอกเอาไว้ว่า เรียนรู้ชีวิต ศึกษาวิชา ลุถึงปัญญา นำพาชีวิต
งั้น กาย นี้เป็น ที่ตั้งหลักของกรรมฐานทั้งปวง
กรรมฐานทั้ง 40 กอง หนีไม่พ้นกายนี้ เอา กาย นี้เป็นที่ตั้งเสมอ
แม้เราจะบอกว่า เราระลึกถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ วิปัสนานุสติ หรือ

ที่เรียกว่า อนุสติ 10 อย่าง ก็ต้องใช้กายนี้เหมือนกัน หรือจะเจริญกสิน 10 ก็ต้องใช้ กาย

นี้ในการพิจารณา แรกๆ เราอาจจะเอา นิมิต เป็นเครื่องจับ คือ ใช้สัญลักษณ์ หรือ เครื่อง

หมาย นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย แต่อะไร เป็นผู้จับ อะไรเป็นผู้จับนิมิต ก็ กาย นี้แหละ คือ

จิตเรา นี่แหละ เป็นผู้ไปจับนิมิต งั้น หนีไม่พ้น กาย นี้ล่ะ
อนุสติ 10 อย่าง, พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ใครเป็นผู้ระลึก ใครเป็นผู้ระลึก

อนุสติ
ก็ ตัวเรา กายเรา งั้น ก็หนีไม่พ้น กาย นี้ อีกแหละ
งั้น กาย เวทนา จิต และ ธรรม มันจะเป็นความหมายที่ตรง เป็นกรรมฐานที่ตรง ตรงกาย

ตรงใจ ตรงจิต ตรงธรรม ตรงอารมณ์ สภาพธรรมที่ปรากฏ
แล้ว กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อครู่นี้ พระท่านขอ สมาทานพระกรรมฐาน เรื่อง กาย เวทนา

จิต ธรรม หรือ หลักมหาสติปัฏฐาน 4 การเจริญมหาสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่เฉพาะ

พิจารณาแค่ กาย หรือ เวทนา หรือ จิต หรือ ธรรม อย่างเดียว เพราะในขณะใดที่เราทุรน

ทุราย มีกายอันไม่สบาย เราก็มีสติตั้งมั่นอยู่ภายในกาย เมื่อใดที่เรารู้สึกทุรนทุราย เกิด

เวทนากล้าแข็ง ก็ต้องพิจารณาว่า เวทนานี้เกิดจากเหตุปัจจัยอะไร
เวทนา มีอะไรบ้าง มีสุข มีทุกข์ แล้วก็ มีเฉยๆ ทั้งหมดนี่ มันเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร
ทุกข์ นี่มันเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร
สุข เกิดจากเหตุปัจจัยอะไร
เค้าเรียกว่า ไม่ได้พิจารณา กาย เป็นใหญ่ล่ะ มาพิจารณา สุข ทุกข์ เรียกว่า เวทนา เป็นใหญ่
ในเวลาที่จิตเราทุรนทุราย สับสน กระวนกระวาย เรามีความรู้สึกว่า เราดิ้นจนหนังกลับ

นอนไม่หลับ มันทุรนทุราย มันเกิดเวทนา หรือ เกิดจากจิต หรือ เกิดจากกาย หรือว่า เรา

อาจจะเกิด ตัวโลภ ตัวรัก ตัวโกรธ ตัวหลง ขึ้นในจิต ก็พิจารณาเรื่อง จิต ว่า เวลานี้ จิต เรา

มันมีขยะอะไร
งั้น พิจารณา กาย ก็ไม่ใช่ทั้งปีทั้งชาติ, พิจารณา เวทนา ก็ไม่ใช่ทั้งปีทั้งชาติ, พิจารณา

เรื่อง จิต ก็ไม่ใช่ทั้งปีทั้งชาติ สรุปแล้วก็คือ เหมือนกับการรักษาโรค
ปวดหัว ก็กินยาแก้ปวด, เป็นแผล ก็ทายา, เป็นไข้ ก็กินยาลดไข้ หาวิธีเช็ดตัว ลดไข้

อย่างนี้เป็นต้น
อึดอัด ท้องผูก ก็กินยาเคลือบกระเพาะ ยาลดกรด อย่างนี้เป็นต้น
งั้น กรรมฐาน พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้สำหรับรักษาโรค กาย เวทนา จิต และ ธรรม เอาไว้

สำหรับรักษาโรคในขณะที่มีชีวิต แต่มันจะเอา กาย เวทนา จิต ธรรม มาใช้รักษาโรคได้

ครบทุก 24 ชั่วโมง  ทุกลมหายใจเข้าออกได้เนี่ย มันต้องฝึก สิ่งหนึ่ง ซึ่ง สิ่งหนึ่ง นี้ มัน

เป็นหัวใจของทุกกรรมฐาน
สิ่งหนึ่ง นั้นที่ใครก็ไม่อาจจะปฏิเสธมันได้ และเป็น สิ่งหนึ่ง ที่ยิ่งใหญ่มหาศาลมาก
สิ่งหนึ่ง นั้นก็คือ มหาสติ
ไม่งั้น เราจะไม่รู้เลยว่า เวลานี้ เราปวดหัว ต้องใช้ยาอะไร, เวลานี้เราเป็นไข้ เราต้องใช้ยา

อะไร, เวลานี้ เราเป็นแผล ต้องใช้ยาอะไร, เวลานี้ เราปวดท้อง ต้องใช้ยาอะไร
เพราะ สิ่งหนึ่ง นั้น ที่เรียกว่า มหาสติ นั่นแหละ มันเป็น ตัวกำหนด รู้ได้ ว่า เออ เวลานี้ เรา

มีความทุกข์ทางกาย ก็มีสติตั้งมั่นอยู่ในกายว่า ความทุกข์มันเกิดจากทางไหน ทุกข์มันเกิด

จากที่ขา  ที่ตัว ที่ตา หรือ ที่ตีน หรือ ที่ตูด หรือ ที่ไหนก็แล้วแต่ เหตุปัจจัยของความทุกข์

มันเกิดได้อย่างไร
ทั้งหมดนี่ มันมาจากการใช้สติในการพิจารณา พิจารณาสิ่งที่ปรากฏขึ้นในกาย แล้วอะไร

เป็นเหตุปัจจัยของการเกิดเหล่านั้น อย่างนี้เป็นต้น
เราเกิดมีความรู้สึกทุรนทุราย สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ก็ต้องพิจารณา แล้วเอาอะไรไปพิจารณา

ก็ สิ่งหนึ่ง นั้น ก็คือ สติ นั่นเอง
งั้น กรรมฐานน่ะ มันมีอยู่แล้ว, กรรมฐานน่ะมันมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มันไม่มีอยู่แล้ว ก็คือ สติ
สิ่งที่มันไม่มีอยู่ แล้วมันต้องเพิ่ม มันต้องเติม มันต้องสั่งสม มันต้องอบรม มันต้องทำให้

เจริญ มันต้องทำให้รุ่งเรือง มันต้องทำให้ตั้งมั่น และทำให้คงอยู่ ก็คือ สติ เพราะเมื่อใดที่เรา

มีสติอยู่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สติมา สัมปชาโน คือ มีสติ ก็คือ มีปัญญา เมื่อสติมา มันก็

ปัญญาเกิด
แต่ทุกวันนี้ ที่เราแสวงหากรรมฐานกันทั้งแผ่นดิน มันจะไปหาเพื่อประโยชน์อะไร ถ้าเรา

ไม่มีสติที่จะไปรับกรรมฐาน เหมือนกับเราไปหาน้ำ แต่ไม่มีเครื่องมือตักน้ำ ไปแสวงหาน้ำ

เฉยๆ แต่ไม่รู้จะเอาน้ำใส่อะไรมา ก็ได้แต่กินขณะๆ กินให้อิ่ม แต่บ้านเราก็ แหล่งน้ำไกล

กันเป็นโยชน์ๆ เดินไปทุกวันได้ที่ไหน หรือ จะไปนอนอยู่ตรงแหล่งน้ำ ก็ไม่ได้ ใช่ที่ มัน

ต้องหาเครื่องไม้เครื่องมือไปบรรทุกน้ำกลับมา เพื่อเอามาใช้ในบ้านเราตลอด 24 ชั่วโมง

หรือ ตลอด 7 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 1 ปี อะไรก็ว่าไป
แต่ทุกคนไม่ได้คิดอย่านี้ ถึงเวลาอยากน้ำ ก็ไปวัด, น้ำ มันเหมือนกับที่วัด จะปฏิบัติ

กรรมฐาน ก็ไปวัด ไปวัดเพื่อไปหาน้ำ ได้น้ำกลับมา กินอิ่ม พุงกาง กลับมา ก็มานอนฝันดี

อยู่ที่บ้านซักพักหนึ่ง อ้าว  เยี่ยวออกหมดอีกแล้ว ขี้ออกเกลี้ยงอีกแล้ว ดีไม่ดี ยังไม่ทันถึง

บ้าน ก็เยี่ยวข้างปั๊ม ข้างหน้าวัด หมด  น้ำหมดแล้ว อยู่บ้านก็หัวโตเหมือนเดิม แล้วก็รออีก

เดือนหนึ่ง อาทิตย์ต้นเดือน กูไปกินน้ำใหม่ อ้ายประมาณนี้ ซึ่งมันผิดหลักของการปฏิบัติ

กรรมฐาน
ในหลักมหาสติปัฏฐาน 4 มันจะต้องใช้กรรมฐานทุกขณะ มันต้องเกิดกรรมฐานทุกขณะ

มันต้องมีกรรมฐานทุกขณะ แล้วกรรมฐานนั้น มันจะต้องเอามาใช้กับการบริหารจัดการ กาย

เวทนา จิต และธรรม คือ ชีวิตน่ะ เอามาบริหารจัดการชีวิต เราต้องใช้น้ำกับการชำระล้าง

ร่างกาย กิน ดื่มได้ ซักล้างได้ทุกวันฉันใด สติ สัมปชัญญะ หรือ สิ่งหนึ่ง นั้น ก็ต้องมีอยู่กับ

เราได้ตลอดเวลาฉันนั้น ไม่ใช่รออีกเดือนหนึ่ง ค่อยเดินไปที่วัด แล้วก็ไปเอาน้ำกลับมา แล้ว

ไม่รู้จะเอาหรือไม่เอา ได้มากได้น้อย ก็แล้วแต่ ซึ่งมันเป็นข้อเสียหาย ข้อเสียหายของผู้

ปฏิบัติกรรมฐาน และข้อที่จะไม่สามารถทำให้มันเจริญได้
เหมือนๆ กับสมัยก่อน หลวงปู่ปฏิบัติธรรม สมัยที่ฝึกปรือตัวเองใหม่ๆ พยายามนึกอย่างยิ่ง

หวังอย่างยิ่ง ต้องการอย่างยิ่ง ปรารถนาอย่างยิ่งว่า เราจะหา สิ่งหนึ่ง นั้นได้จากที่ไหน แล้ว

พระพุทธรูปท่านก็บอกให้รู้ว่า สิ่งหนึ่ง นั้น ก็อยู่ที่ตัวเองน่ะ อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่

พึ่งของตน
ชั่วชีวิต ใช้คำนี้มาตลอด ไม่ว่าจะเรียนรู้เรื่องอะไร ศึกษาสิ่งใด วิเคราะห์สถานการณ์แบบ

ไหน ก็ อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน
แต่ถามว่า ทุกวันนี้ มัน ตนล้วนๆ หรือเปล่า ต้องถามตัวเองอย่างนั้นด้วย
ตนล้วนๆ มันก็เป็นที่พึ่งของตนได้
แต่ถ้า ตนที่ มีเขา มีงวง มีงา มีเกล็ด มีหาง มีหัว มีตา มีตัว มีตีน มีตูด ซึ่งมันไม่ใช่ ตน มัน

เป็น อีโก้ อ้ายโก้ ตัวกู ของกู มันเป็นอัตตา มันเป็นอุปาทานในสังขารขันธ์ มันเป็นอวิชชา

มันเป็นตัณหา มันเป็นสักกายทิฏฐิ มันเป็นวิจิกิจฉา มันเป็นสีลัพพตปรามาส มันเป็นอะไร

ต่ออะไร เยอะแยะมากมาย สารพัดที่มันจะเป็น แล้ว ตัวกูแท้ๆ มันอยู่ที่ไหน
ตราบใดที่เรายังไม่ถึงคำว่า ตัวกูแท้ๆ ที่ไม่มีหัว ไม่มีหาง ไม่มีงวง ไม่มีงาปรากฏ คือ มัน

ล้วนๆ, ตัวล้วนๆ, ล้วนๆ ซึ่งท่านพวกนิกายเซนชอบพูดว่า จิตประภัสสร เรียกว่า ประ

ภัสระจิต หรือ จิตประภัสระ
ถ้าจะเป็นกาย ก็จัดว่า เป็น กายอันศักดิ์สิทธิ์
ถ้าเป็นจิต ก็ถือว่า เป็น จิตอันศักดิ์สิทธิ์
ถ้าเข้าถึงธรรม ก็ถือว่า เป็น ธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์
สรุปรวมๆ ก็คือ ตราบใดที่ยังไม่ถึงคำว่า กายศักดิ์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธิ์ และธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์

มันก็จะไม่ใช่ตัวตนล้วนๆ เมื่อไม่ใช่ตัวตนล้วนๆ เวลา ทำ พูด คิด อะไร มันก็จะเอากิเลสล่ะ,

เอากิเลส เอาหัว เอาหาง เอางวง เอางา เอาตา ตัว ตีน ตูด ของกู ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า มันบริสุทธิ์

มันสะอาด มันสกปรก มันรกรุงรัง มันมากไปด้วยขยะ ยักเยื่อยักใย่ มาเป็นตัวกำหนด ตัว

ตัดสิน ถูก ผิด ดี ชั่ว ใช่ ไม่ใช่ ได้ เสีย ยอมรับ แล้วก็ปฏิเสธ สุดท้าย มันก็ เดือดร้อนบ้าง

ไม่เดือดร้อนบ้าง ใช่บ้าง ไม่ใช่บ้าง
ทั้งหมดนี่มันมาจากขาด สิ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง ที่ทำให้เราถึงกายศักดิ์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธิ์ และ

สิ่งหนึ่ง นั้น เค้าเรียกมันได้ว่า ธรรมะศักดิ์สิทธิ์ ก็ได้ สิ่งหนึ่ง นั้น ก็คือ สติ
งั้น ตลอดระยะเวลาหลายปีที่หลายคน บางคนอยู่เป็นสิบปี ที่มาวัดอ้อน้อย ไม่ได้สอนอะไร

สอนเรื่อง สติ อย่างเดียว แต่มีกระบวนการนำพาให้เข้าถึง สติ เนี่ยมหาศาล เยอะแยะ ขีด

จิตก็ได้ ปราณโอสถก็เอา คลำกระดูกก็สอน เดินจังหวะก็มี พิจารณาความว่างก็เอา สุญญ

ตสมาธิก็บอก สวดมนต์ถอยหลังก็ให้
สารพัดสารพันทั้งหมดเนี่ย มันมาจากคำว่า แสวงหาสิ่งหนึ่ง สะสมสิ่งหนึ่ง, ต้องการสิ่งหนึ่ง

ให้มันมีสิ่งหนึ่ง และ สิ่งหนึ่ง นั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งอันวิเศษที่เราจะต้องลุถึงกรรมฐานทั้ง 40

ได้ทุกตัว ทุกองค์ประกอบ ทุกอักษร ทุกพยัญชนะ ทุกวลี อรรถ ถ้อยกระทงความ ที่พระ

ศาสดาทรงสอน
เราจะไม่มีโอกาสบรรลุธรรมข้อไหนเลย ถ้าเราขาด สิ่งหนึ่ง นั้น แล้วเราก็ไม่ให้ความสำคัญ

กับสิ่งนั้นๆ เท่าที่ควร เราก็คิดว่า  สิ่งหนึ่ง นั้น เป็นเพียงแค่องค์ประกอบเฉยๆ
จริงๆ แล้ว มันเป็นหัวใจสำคัญนะ เพราะ สิ่งหนึ่ง นั้น ทำให้เราถึงกายบริสุทธิ์ เรียกว่า กาย

ศักดิ์สิทธิ์ และเพราะ สิ่งหนึ่ง นั้น ทำให้เราถึงจิตบริสุทธิ์ เรียกว่า จิตศักดิ์สิทธิ์ และเพราะ

สิ่งหนึ่ง นั้นแหละ มันทำให้เกิดบริสุทธิ หรือ ความบริสุทธิ์ หรือ พระบริสุทธิธรรมปรากฏ

ขึ้นแก่เรา จึงเรียก สิ่งหนึ่งนั้นว่า ธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์
ด้วยเหตุเพราะ สิ่งหนึ่ง นั้น เป็นธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์ นี่แหละ มันจึงทำให้เรา ทำไม่ผิด พูด

ไม่ผิด คิดไม่ผิด
สรุป รวมๆ ขอให้ข้าพเจ้าจงเข้าถึง สิ่งหนึ่ง นั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว

และสิ่งหนึ่งนั้น ก็คือ มหาสติปัฏฐาน 4 ซึ่งอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม
ที่จริง กาย มีสติอยู่หรือไม่
โดยธรรมชาติของกาย ไม่ได้มีสติอยู่
โดยธรรมชาติของเวทนา ก็ไม่ได้มีสติอยู่
และโดยธรรมชาติของจิต ก็ไม่ได้มีสติอยู่
และโดยธรรมชาติของธรรม ก็เป็นเช่นนั้นของมันเอง ธรรมซึ่งมันมีความหลากหลาย มาก

มาย ทั้งกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม มีเยอะแยะมากมาย แต่มันไม่มี สิ่งหนึ่ง

นั้น
งั้น สิ่งหนึ่ง นั้น มันต้องสร้างให้เกิด ในกาย ในเวทนา ในจิต แล้วก็ ในธรรม เมื่อมันมีเข้า

มาปรากฏอยู่แล้ว มันก็จะเลือกได้ว่า เราจะทำกุศลธรรม ปฏิเสธอกุศลธรรม เราจะศึกษา

เรียนรู้อัพยากฤตธรรม
งั้น สิ่งหนึ่ง นั้น จึงเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มหาศาลมาก
พวกท่านทั้งกลาย ก็เข้าใจกันว่า เป็นเรื่องเล่นๆ ฝึกไปเฮอะ ที่จริงแล้ว ฝึกไป สร้างขึ้น ทำให้

เกิดในสิ่งหนึ่ง นั้น มันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงมโหฬารมหาศาลแก่ชีวิตเรา เราทำให้มัน

เกิดได้ทุกขณะ อย่างเช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า กายนี้ ต้องมี สิ่งหนึ่ง นั้น, เวทนานี้

ต้องมีสิ่งหนึ่งนั้น, จิตนี้ ต้องปรากฏ สิ่งหนึ่ง นั้น, และ ธรรมนี้ ต้องมี สิ่งหนึ่ง นั้น เพราะ

สิ่งหนึ่ง นั้น มันจะเลือกกุศลธรรม และปฏิเสธอกุศลธรรม
ถ้าทำได้อย่างนี้ เราก็เข้าไปถึงองค์คุณแห่ง กาย เวทนา จิต ธรรม อันสมบูรณ์ ที่เรียกว่า

กายศักดิ์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธิ์ เวทนา เราก็จะคัดสรรต่อสุขเวทนา ทุกขเวทนาก็จะศึกษาเรียนรู้

ได้อย่างชัดเจนว่า เกิดจากเหตุปัจจัยอะไร แล้วทีนี้ ธรรม ธรรมก็เป็นธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล

อย่างเดียวที่เราเลือกคัดสรรได้ เพราะฤทธิ์ เดชแห่ง สิ่งหนึ่ง นั้นกำหนดให้เรารู้ว่า ธรรมใด

ควรทำ และธรรมใดควรปฏิเสธ อย่างนี้เป็นต้น
งั้น ท่านทั้งหลาย อย่าเข้าใจว่า กายมี สิ่งหนึ่ง นั้นอยู่, เวทนามี สิ่งหนึ่ง นั้นอยู่, จิตนี้มี

สิ่งหนึ่ง นั้นอยู่ และธรรมนี้มี สิ่งหนึ่ง นั้นอยู่
มันยังไม่มี แต่เราต้องสร้างขึ้น แล้ววิธีสร้าง ก็หลากหลายมาก สอนไปเยอะมาก
เยอะไม๊ ก็เยอะกว่าอาจารย์ในแผ่นดินนี้ ที่เค้าสอนๆ กันมา เพราะอาจารย์แต่ละคน เค้าก็

สอน บางคนก็ พุทโธ พุทโธ,บางคนก็ สัมมา อะระหัง, บางองค์ก็ นะมะ พะทะ, บาง

คนก็ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
แต่อาจารย์วัดอ้อน้อย นี่สอนหลายอย่างมาก สอนสารพัดอย่าง เพื่อให้เกิด สิ่งหนึ่ง นั้น แต่

มันดูเหมือนกับว่า สอนเยอะ มันก็ อู้หู กูนี่วิชามาก กลายเป็นพวก ตากะทู้ หูกะทะ มาเป็น

กะทู้, กะทู้ ก็คือ เข่ง, กูได้มาเป็นเข่งเลย วิชากู, อันไหนบ้างล่ะ, ไม่รู้ล่ะ มาเป็นเข่ง

มึงเลือกเอาซักอัน มึงเอาซักอันในเข่งนั้น เป็นประมาณนั้นไป
งั้น อยากบอกท่านที่รักทั้งหลายว่า ถ้าอยากจะเรียนรู้ศึกษา มหาสติปัฏฐาน 4 จริงๆ ไม่

ต้องไปหาที่ไหน, ทำ สิ่งหนึ่ง นั้น ให้เกิด, สร้าง สิ่งหนึ่ง นั้น ให้ปรากฏ แล้วเมื่อ สิ่งหนึ่ง

นั้น เมื่อมันเกิดและปรากฏแล้ว เราจะเข้าใจกายศักดิ์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธิ์
เวทนา ก็เป็นสุขเวทนาที่เราคัดสรร แม้นทุกขเวทนาถ้าปรากฏ ก็ต้องรู้เหตุปัจจัยของทุกข์ ว่า

มันเกิดจากเหตุปัจจัย เรียกว่า รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฏได้ชัดเจน
ถ้าเป็นธรรมะ เราก็คัดสรรเฉพาะกุศลธรรม อกุศลธรรม เราก็ไม่กระทำ
ถ้าเป็นอัพยากฤตธรรม ก็จะเข้าใจความหมายว่า เหตุปัจจัยอะไร ทำให้เราเฉยๆ ต่อ

อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ อย่างนี้เป็นต้น
ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงนี่แหละ คือ ความหมายและที่มาของคำว่า  เราจะเข้าถึงกรรมฐาน

นั้นได้อย่างไรในหลักมหาสติปัฏฐาน 4 เราชอบพูดกัน ชอบคุยกัน ไปเรียนกรรมฐาน ไป

เรียนกรรมฐาน
เอาอะไรไปเรียน ถ้าเราไม่มี สิ่งหนึ่ง นั้น, เอาอะไรไปรับรู้ ถ้า สิ่งหนึ่ง นั้น ไม่อยู่กับเรา

และสิ่งหนึ่ง นั้น มันไม่ใช่อยู่กับครู ไม่ได้อยู่ที่การเรียน การรับรู้ แต่มันอยู่ที่เราต้องสั่งสม

มันขึ้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวเรา แต่เราต้องทำให้มันเกิดขึ้น เพราะถ้า สิ่งหนึ่ง นั้น มันอยู่กับเรา

ตั้งแต่เกิด อุ๊ย ป่านนี้ไม่เป็นอ้ายหมู อ้ายหมา อ้ายควาย อ้ายคน อีนั่น อีนี่หร๊อก มันเป็น

เทวดาไปหมดแล้ว เป็นผู้วิเศษไปหมดล่ะ ป่านนี้ ก็ไม่ต้องร้อง มอๆๆ กัน เพราะ สิ่งหนึ่ง นั้น

มันไม่มี, มันต้องหา ต้องทำให้มันมี
มีมาก ก็รวยมาก มีน้อยก็รวยน้อย หรือ ไม่รวย
มีมาก ก็เจริญมาก ไม่มี ก็เสื่อมทราม อับจน เพราะ สติ หรือ สิ่งหนึ่ง นั้น มันทำให้เรา ทำ

พูด คิด ไม่ผิดพลาด ถ้าเมื่อใดที่เราขาด สิ่งหนึ่ง นั้น หรือ ขาดสติ เราก็ทำผิด พูดผิด คิดผิด

อ้ายคนรวยที่สุด มันก็พลาดมากสุด มีพละกำลัง มีบริษัทบริวาร ทรัพย์สินเงินทอง แต่ถ้าไม่มี

สติ เดี๋ยวมันก็ จน จ๊น จน สุดท้าย ก็ทำร้ายทำลายคนอื่น และทำลายตัวเอง
แล้วการฝึก สิ่งหนึ่ง นั้น ให้มันเกิดอย่างไร
ข้อนี้ต่างหากล่ะ ที่มันต้องคุยกัน
มันต้องทำ มันต้องศึกษาว่า จะทำให้เกิด สิ่งหนึ่ง นั้นเนี่ย มันจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ก็หลากหลายกรรมวิธี ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ก็พยายามจะเอาไม้เด็ด กลเม็ด เด็ดพรายที่ตัว

เองรับรู้ มาอบรมสั่งสอน องค์หนึ่งก็รู้อย่างหนึ่ง บางองค์ก็รู้ 2 อย่าง 3 อย่าง ก็แล้วแต่
แต่ทั้งหมด มันจะต้องหนีคำว่า สิ่งหนึ่ง นั้น ไม่ได้เลย หนีไม่ได้ ถ้าเมื่อไรที่ครูบาอาจารย์

เกจิทั้งหลาย หรือองค์ไหน หรือท่านไหนปฏิเสธ แสดงว่า นั่นไม่ใช่ล่ะ
ไม่ใช่วิถีของความเข้าใจ รู้จัก กาย เวทนา จิต ธรรม
ไม่ใช่วิถีของความเข้าใจ รู้จัก สภาพธรรมที่ปรากฏ
ไม่ใช่วิถีเข้าใจ รู้จักว่า อะไรกุศล อะไรอกุศล อะไรอัพยากฤต
ไม่ใช่วิถีที่จะเข้าใจ รู้จัก สุข ทุกข์ และเหตุปัจจัยของความสุข ทุกข์มาจากไหน
งั้น เมื่อมันไม่ใช่วิถี ก็ไม่ใช่มรรคา เมื่อไม่ใช่มรรคา มันก็ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงคำว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิได้
สิ่งหนึ่ง นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หลายที่มาก และหลายที่มากเนี่ย พระองค์ก็ทรงสรุป

อยู่ในมรรควิถีว่า สิ่งหนึ่ง นั้น ไม่ว่าจะเกิดอย่างไร มันต้องรวมยอดอยู่ในคำว่า สัมมาสติ

แล้วมันจะเป็นสัมมาสติได้ มันต้องรับรู้อะไร มันก็จะเข้าถึงองค์คุณของคำว่า วิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาญาณ คือ การรับรู้อะไรบ้าง ญาณ แปลว่า ปัญญา รับรู้อะไร รับรู้เหตุปัจจัยความ

จริง
เหตุปัจจัยความจริง มีอะไรบ้าง
รู้ทุกข์ ทุกข์มันเกิดอย่างไร สัมมาสติ มันต้องรู้อย่างนี้ ทุกข์มันเกิดอย่างไร
เหตุแห่งทุกข์ มันเกิดอย่างไร
การดับทุกข์ ที่มีอยู่ มาก น้อย ยาว สั้น ใหญ่ เหมาะสม พอเพียง กับตนมากน้อยแค่ไหน
การทำให้ทุกข์ดับนั้น ทำได้อย่างไร
แล้วก็พัฒนาจนถึงคำว่า รู้ รู้อะไร
นี่พูดถึงคำว่า สัมมาสติ ซึ่งไม่ใช่ สิ่งหนึ่ง นั้นอย่างเดียวที่ไม่มีคำว่า สัมมา
สติ เฉยๆ ยังไม่ใช่ ยังไม่ยอมรับ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องเป็นสติที่จัดว่าเป็นตระกูล สัมมา
แล้วตระกูลสัมมา นอกจากรู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

แล้วยังต้องรู้อะไรอีก ก็รู้อนิจจัง รู้ทุกขัง รู้อนัตตา เหล่านี้ เค้าเรียกว่า เป็นผู้รู้ สิ่งหนึ่ง นั้น

อันประเสริฐ ที่หลวงปู่เรียก สิ่งหนึ่ง นั้น ว่า พระบริสุทธิธรรมไง เป็นผู้เข้าถึง สิ่งหนึ่ง นั้น

อันรุ่งเรืองเจริญ
สัมมาสติ ต้องรู้อย่างนี้
ส่วนสัมมาสมาธิ นั่นเป็นเหตุปัจจัยตั้งมั่นของ สิ่งหนึ่ง นั้น อย่างไม่คลาดเคลื่อน ไม่สั่นคลอน

ไม่ง่อนแง่น ใครจะแปลความหมายของคำว่า สัมมาสมาธิ คือ รู้ฌาน ฌานที่ 1 จนถึง

ฌานที่ 4 จนลุถึงสมาบัติ 8 ก็ตามที แต่สำหรับหลวงปู่แล้ว มันก็ไม่ได้ทำให้ อนิจจัง ทุก

ขัง อนัตตา ปรากฏชัด
งั้น เราจะต้องประคอง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนลุถึงที่สุด คือ วิโมกขศักดิ์ คือ ความหลุด

พ้นจากวัฏฏะ จึงจะจัดว่าเป็นสัมมาสมาธิที่ชัดเจน
ทั้งหมด มันเป็นที่มาของคำว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อ กาย เวทนา จิต ธรรม และนำ กาย

เวทนา จิต ธรรม ไปสู่มรรควิถี แล้วเป็นที่มาของคำว่า ต้องหา สิ่งหนึ่ง นั้น, สั่งสม สิ่งหนึ่ง

นั้น, สร้างให้เกิด สิ่งหนึ่ง นั้น และทำให้ สิ่งหนึ่ง นั้น มั่นคง เพื่อเดินเข้าไปสู่มรรควิถี ให้

ได้ และเพื่อ เข้าใจ รู้จัก กายนี้ เวทนานี้ จิตนี้ และธรรมอันศักดิ์สิทธิ์
สมัยก่อนที่หลวงปู่ ฝึก ศึกษา สั่งสม อบรมตัวเอง ที่ต้องเอาตัวเองไปนอนแช่หลุมขี้ ไม่ใช่

ไปหาความศักดิ์สิทธิ์วิเศษ เพราะเคยแสวงหา
ก่อนๆ นั้น เคยคิดว่า ถ้าเรารู้ รู้มากกว่ามนุษย์ธรรมดา ก็คงจะเป็นกำลังใหญ่ เป็นเรื่องดี เช่น

รู้ว่า คนที่มามีความคิดอะไร จิตใจเป็นอย่างไร เรียกว่า รู้ใจคน รู้จักคน เข้าใจคน แล้วกว่า

จะรู้จัก เข้าใจคน ก็ต้องรู้จัก เข้าใจตนเอง
พอทำความรู้จัก เข้าใจตนเอง มันก็รู้ได้ชัดว่า โอ คนๆ นี้มาด้วยคิดอะไร, คนๆ นั้นมา

กำลังด่ากูอยู่หรือไม่, คนๆนั้นคนๆ นี้มา มันเดินลักษณะอย่างนี้ นิสัยอย่างนี้ ไปทำชั่ว

อะไรมา ก็ได้มาเห็นถึงความหมายของประโยคเก่าๆ ที่เค้าสอน คนโบราณเค้าสอนไว้ว่า รู้

มาก ก็ยากนาน
ก็เลยมาถามตัวเองว่า เอ๊ พระอรหันต์ เค้ารู้อย่างนี้หรือเปล่า
พระอรหันต์ท่านรู้อย่างนี้ แต่ท่านไม่ยากนาน เพราะอะไร
ก็เพราะพระอรหันต์ท่านไม่มีอัตตาไง ท่านไม่มีตัวตน เลยไม่มีตัว ยาก
แต่เราไม่ใช่อรหันต์ เรายังเป็นคน เป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้เวียนเกิด เวียนตายอีกนาน

พอรู้มากเข้า มันก็ยากนาน ยากนานอย่างไร
อ้าว อ้ายนั่น มันเดือดร้อนทุรนทุราย, เอ๊ กูก็ช่วยไม่ได้ ทำยังไงละวะ ยากนาน กูอีกล่ะ,

อ้อ อ้ายนั่นมา ดูซิ มันเดินมา ตั้งใจจะมาด่ากูนะเนี่ย, ยากนาน กูอีกล่ะ, อ้าว ดูอีนั่นมา

มานั่งชะม้อยช้อยตา ตอหลดตอแหล เออ ดอกทองแรดอยู่ข้างหน้า, อ้าว ยากนานกับกู

อีกแล้ว คือ มันดันไปรู้ไง พอมันดันไปรู้เข้า มันก็เลยทำให้รู้สึกว่า เอ๊ อ้ายห่านี่ มันยากนาน

มันทุกข์ยากนาน
แล้วไม่รับรู้ล่ะ, ไม่รับรู้ก็ได้ แต่ว่าพอไม่รับรู้แล้ว มันก็จะทำให้ฝ้าเฟือน ฟั่นเฟือน ก็

หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราต้องรู้ เพราะถ้าพระโพธิสัตว์ มีหูไม่ฟังเสียงทุกข์สัตว์ เราก็ไม่

ใช่ยี่ห้อพระโพธิสัตว์ ก็ต้องรู้ พอรู้แล้ว มันยากนาน ยากนานเรื่อยๆ เข้าๆ ทีนี้ ก็เลยไม่อยาก

เจอคน
พอรู้เข้า กูก็ไม่อยากอยู่ในบ้านในเมือง ก็อยากเข้าป่า เพราะรู้แล้วมันยากนาน อยู่ในบ้าน

ในเมือง มันจะยากนาน ยากนาน คนเค้ามา ถวายอ้ายนู่น มันไม่ได้ถวายเพราะมันอยากได้

บุญหรอก มันถวายเพราะมันอยากได้หวย, อ้ายคนๆ นี้มาถวายเพราะมันอยากได้ยศ,

อ้ายนั่นมา มันมาให้กู เพราะมันอยากให้กูทำอ้ายนั่นๆ ให้, มันไม่ใช่อยากจะได้บุญ ได้

กุศล ได้บารมีธรรม ได้ธรรมะ
อ้ายคนที่จะต้องการเข้าถึงธรรมะ มีไม่กี่คนหรอก เพราะมันรู้มาก แล้วมันยากนานแบบนี้

เหมือนๆ กับอ้ายที่แจกทาน เพราะรู้มากเข้า มันก็เลยรู้ว่า อ้ายใครมันหลอกเรา ใครมันไม่

หลอกเรา ใครมันโกหก ตลบแตลง ปลิ้นปล้อนกับเรา รู้มากเข้า มันก็รู้ว่า ใครตั้งใจทำงาน

ใช้ปัญญาทำ ใครที่ไม่ใช้ปัญญาทำ ทำโดยสันดานดิบ ไม่ใช่สันดานดี รู้มากอย่างนี้แล้ว

มันทำให้ยากนาน
จึงได้เข้าใจว่า อ๊อ อ้ายรู้มาก ยากนาน นี่มันมาจาก ถ้าเราไม่ถึงสภาพที่ควรจะต้อง เหมือนๆ

กับเป็นเด็ก แล้วไปแบกของหนักที่มันกิโลมาก หนักมาก
สังขารขันธ์ มันไม่สามารถจะรับเอาความรู้แบบนั้นได้ ถ้ารับได้ มันก็ต้องทุกข์มาก มันต้อง

ทรมานมาก มันต้อง แต่หน้าที่ มันเป็นหน้าที่
สรุปแล้ว หน้าที่ พระโพธิสัตว์ต้องยอมที่เค้าบอกว่า ต้องแล่เนื้อตัวเองเลี้ยงเสือน่ะ เค้า

เปรียบได้อย่างนี้ เริ่มต้นจากความรู้ของพระโพธิสัตว์ ที่รู้มากแล้วมันยากนาน มันลำบาก

ยิ่งกว่าแล่เนื้อตัวเองเลี้ยงเสืออีก
เพราะเห็นคนร้อยคน ก็เข้าใจคนร้อยคน แล้วรู้ว่า คนร้อยคน มีสุขมีทุกข์ มีรุ่งเรืองเจริญ มี

เสื่อม มีชั่ว มีดี แล้วมันก็ทำให้จิตเรามันไม่คงที่ จิตมันกระเพื่อมตามอาการการเรียนรู้
ถ้าพระอรหันต์รู้ล่ะ พระอรหันต์ท่านรู้แบบรู้ ไม่ได้เอา รู้แบบไม่มีตัวกูรู้, รู้แล้วก็เฉยๆ,

รู้แบบเฉยๆ, รู้แบบสากกะเบือตำน้ำพริก พระอรหันต์เค้าจะรู้แบบนั้น ไม่ใช่ไม่ดีนะ ดี

เพราะสากกะเบือไม่แสบไม่ร้อน มึงจะจับกูตำอะไร กูตำได้ทั้งนั้นแหละ กูไม่รู้สึกอะไร นั่น

รู้แบบพระอรหันต์รู้
แต่รู้แบบพระโพธิสัตว์รู้ นี่มันรู้แบบเนื้ออ่อนๆ ที่โดนพริก มันสะดุ้ง โดนน้ำร้อน โดนไฟ

ลวก มันสะดุ้ง งั้น พระโพธิสัตว์ก็ต้องสะดุ้งอยู่ตลอดเวลา ถ้าตัวเองยังต้องทำหน้าที่เป็นพระ

โพธิสัตว์ มันก็ต้องสะดุ้งแบบนี้
ทั้งหมดนี่มันมาจากคำว่า สั่งสม สิ่งหนึ่ง นั้นอย่างยาวนาน มันต้องมี สิ่งหนึ่ง นั้น

อย่างมหาศาล อย่างยาวนาน อย่างยั่งยืน และทำให้ สิ่งหนึ่ง นั้น มันรุ่งเรืองเจริญ เหนือเหตุ

ปัจจัยของ กาย เวทนา จิต ธรรม จนทำให้กายนี้ศักดิ์สิทธิ์แล้ว, จิตนี้ศักดิ์สิทธิ์ได้, สิ่ง

หนึ่ง นั้น เป็นความศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เรา ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด
และถ้าจะเป็นความผิดพลาด ก็เป็นความผิดพลาดที่เป็นเหตุปัจจัย เรื่องกฏของกรรม
กรรม นี่พระโพธิสัตว์ยังปฏิเสธไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็หนีกรรมไม่ได้ ตัวอย่างเช่น พระ

เทวทัตไล่จองล้างจองผลาญ ท่านก็ยังต้องใช้หนี้กรรม เพราะความผิดด้วยเหตุปัจจัยของ

กรรม มันมีอดีตกรรมก็มี ปัจจุบันกรรมก็มี แต่ปัจจุบันกรรม ถ้ามี สิ่งหนึ่ง นั้น อย่างสมบูรณ์

มันก็สามารถรักษาให้กุศลกรรมคงอยู่ อกุศลกรรมก็หมดไป
ทั้งหมดเนี่ย เล่าให้ฟัง เพื่อให้เห็นประโยชน์ของ สิ่งหนึ่ง นั้น ไหนๆ สมาทานพระ

กรรมฐานแล้วก็ให้เข้าใจว่า หัวใจสำคัญของกรรมฐาน มันไม่ใช่อยู่ที่บทท่องจำ กาย เวทนา

จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่มีอะไร, ไม่มี สิ่งหนึ่ง นั้น เราต้องสร้างสม อบรม สิ่งหนึ่ง นั้น

ให้ปรากฏ อ้ายที่บอกว่า ทั้งหมดมันอยู่ที่กายเรา ก็กายเรา มันเป็นที่ตั้งของ สิ่งหนึ่ง นั้น
เรียนรู้ชีวิต ชีวิต นี่มันเป็นที่ตั้งของ สิ่งหนึ่ง นั้น, และ สิ่งหนึ่ง นั้นไปตั้งที่อื่นไม่ได้นอก

จากชีวิต มันจะไปตั้งบนไหน ที่ไหน พระพุทธรูป ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร หรือ ศาลาการ

เปรียญ โบสถ์วิหาร ไม่ได้ มันต้องตั้งอยู่กับเรา ตั้งอยู่ในชีวิตนี้
เค้าจึงนิยมสอนกัน ให้เราพากเพียร ท่องบ่น ทรงจำ ศึกษา เล่าเรียน อบรม ฝึกตนให้เป็น

คนมีระเบียบ มีวินัย ทั้งหมดเนี่ย มันเป็นเหตุปัจจัยสั่งสม สิ่งหนึ่ง นั้นทั้งนั้น แต่มันยังไม่ได้

จับแยกว่าออกมาเป็น สิ่งหนึ่ง นั้น ที่เป็น สัมมา หรือ มิจฉา
เหมือนกับโจรน่ะ มันมี สิ่งหนึ่ง นั้นไม๊, มี๊ โจรมันก็มีสติ แต่มันเป็น มิจฉาสติ
อ้ายคนไปปล้นเค้า โกงเค้าได้ หลอกล่อเค้า พูดจาตลบแตลง มดเท็จจนคนเค้าเชื่อ ก็มี แต่มัน

เป็นมิจฉา ไม่ใช่เป็นสัมมา
งั้น เราจะทำให้เกิดสัมมาได้ ก็ต้องประคับประคอง
ประคับประคองด้วยอะไร
มันต้องประคับประคองด้วยเส้นแบ่งระหว่าง อธรรม กับ คุณธรรม
ทั้งหมด มันเลยเป็นที่มาของคำว่า ต้อง บริจาคทาน รักษาศีล สวดมนต์ภาวนา แผ่เมตตา

ฟังธรรม ทำหน้าที่ถูกต้อง ทำเรื่องดีๆ ไม่บกพร่อง มีจิตใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ให้อภัย มีน้ำใจ

ไม่เห็นแก่ตัว เห็นคนอื่นทำดี ก็พลอยยินดี อนุโมทนา แม้ที่สุด ก็มีสัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ

อย่างนี้เป็นต้น
มันต้องโดนกรอบ ตีกรอบ ให้อยู่ในกรอบ ไม่งั้น มันจะเป็นมิจฉา มิจฉาของ สิ่งหนึ่ง นั้นไป
งั้น ใครอาจจะถามว่า ไม่ต้องมาปฏิบัติธรรม หรือ ไม่ต้องเจริญภาวนา ใส่บาตรทำบุญ ไม่

ต้องแผ่เมตตาไม่ต้องทำ เอาแต่แสวงหา สิ่งหนึ่ง นั้น แล้วนั่งสมาธิ หลับตาเฉยๆ จะได้ไม๊
ได้ แต่แน่ใจหรือว่า มันเป็น สัมมา
เพราะ รากฐานของ สัมมา มันต้องมาจาก ทาน ศีล ภาวนา ธรรม รากฐานของสัมมา มัน

ต้องมาจาก กตัญญู กตเวทิตา, หิริ โอตัปปะ, ขันติ โสรัจจะ อย่างนี้เป็นต้น
นั่นคือ รากฐานของสัมมา สัมมาของ สิ่งหนึ่ง นั้น
แต่ถ้าทุกคนปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แล้วก็เอาแต่บอกว่า ชั้นไม่ทำอะไรเลย จะรอเพียงแค่มานั่ง

หลับตาภาวนา มันก็จะกลายเป็นเหมือนกับชฎิล 2 พี่น้อง มันจะกลายเป็นฤษี นักบวชชี

ไพร ที่ปฏิบัติกันสมัยยุคโบราณก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ แล้วที่สุด มันก็ได้แค่สวรรค์ ได้แค่

พรหม เป็นสมบัติ เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ, เป็นมิจฉาสติ ไม่ใช่สัมมาสติ,

เป็นมิจฉาสมาธิ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
งั้น รากฐานของการปรากฏ สิ่งหนึ่ง นั้นอันประเสริฐ มันเป็นรากฐานที่ครูบาอาจารย์ พ่อแม่

คนโบราณ ปู่ย่าตายาย เค้าอบรมสั่งสอนให้เราทำ ไหว้พระ สวดมนต์ เจริญภาวนา แผ่

เมตตา ฟังธรรมรักษาศีล ทำดี พูดดี คิดดี ทั้งหมดเนี่ย มันเป็นรากฐาน
ลูกหลานอย่าไปมอง พวกท่านทั้งหลาย อย่าไปมองว่า มันเป็นเรื่องไร้สาระ เลอะเทอะ ไม่

ได้เรื่อง เอาแก่นเลย เข้าไปถึงแก่นเลย
เอาแก่นมาจากไหน ถ้าต้นไม่มี
เอาแก่นมาจากไหน ถ้ากระพี้ เปลือกไม่เลี้ยงต้น แล้วจะเกิดแก่นได้อย่างไร
เอาแก่นมาจากไหน ถ้าใบมันไม่ปรุงอาหาร
งั้น อย่าไปมองว่า สำนักนี้ ดีแล้วล่ะ มีแต่แก่น ไม่มีเปลือก ไม่มีกระพี้ ถ้าอย่างนั้น มันต้อง

คนที่พอเห็นพระพุทธเจ้า แล้วบรรลุธรรมเลย แล้วอ้ายคนพันธุ์นั้น มันมีด้วยเหรอยุคนี้ หรือ

ฟังธรรมแค่ 2 ข้อ ก็ตรัสรู้ เร็วจบ อะไรประมาณนั้น
งั้น ต้องอาศัยหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง แล้วทำให้หนึ่งสิ่ง เจริญรุ่งเรือง
เอ้า เมื่อเข้าใจตามนี้ หน้าที่ของเราตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ก็คือ สั่งสม สิ่งหนึ่ง นั้น
นั่นคือ สั่งสม สติ
จะมีทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสติ, แล้ว สติ เมื่อมันเกิด ต้องเกิดที่กาย ไม่ใช่เกิดที่อื่น,

เกิดที่กาย เกิดที่เวทนา  เกิดที่จิต และเกิดที่ธรรม
หลักของการที่เราเอาสติ หรือ สิ่งหนึ่ง นั้นไปตั้ง มีอยู่ 4 สัญฐาน ก็คือ กาย เวทนา จิต และ

ธรรม ไม่มีที่อื่น ไม่มีที่ผัว ไม่มีที่เมีย ไม่มีที่งาน ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่ครอบครัว ไม่ใช่อยู่ที่

อารมณ์ สุข ทุกข์ ที่ได้จากการเสพกาม นอนไม่เป็นสุข ขี้ไม่ค่อยออก กินไม่ค่อยอิ่ม ถ้า

อย่างนั้น ก็ยังจัดอยู่ในเวทนานะ แต่เป็นเวทนาที่มักมากในกามคุณไง
ถ้าเวทนาจริงๆ มันต้องเป็นเวทนาที่เทียบเคียงกับปัจจุบันธรรมได้ ต้องมีสติรู้ชัดว่า เวทนา

ข้อนี้มันเกิดกับเรา, ตอนนี้เรากำลังจะแว๊บออกข้างนอกแล้วนี่, นี่เราไม่ได้อยู่กับที่แล้ว

นี่, เอ๊ ตัวเรามีแต่ซากนี่ จิตวิญญาณเราไปอยู่ไหนหว่า อย่างนี้เป็นต้น ต้องวิเคราะห์ให้

ได้อย่างนี้
สรุปรวมๆ ก็คือ ตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่เราจะสึกหรือเลิก ต้องทำให้ สิ่งหนึ่ง นั้น

อยู่กับกาย เวทนา จิต และ ธรรม อย่างเดียว ห้ามไปอยู่กับสิ่งอื่น มันจะไม่มีที่อื่นอยู่

เพราะถ้าไปอยู่ที่อื่น มันก็จะเป็นมิจฉา ไม่ใช่เป็นสัมมา
ฟัง เข้าใจไม๊
นี่ พูดมาตั้งเยอะ ฟัง เข้าใจไม๊เนี่ย (สาธุ)
เออ เมื่อเข้าใจ ก็ดีล่ะ
ให้ไปเข้าห้องน้ำห้องท่า แล้วเดี๋ยว มารวมตัวกัน เจริญพระพุทธมนต์
(กราบ)
7 ธ ค 2555    19.00 น.  ณ.ทองผาภูมิ  ระหว่างเจริญพระพุทธมนต์

โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
(กราบ)
นะโม ตัสสะ...
.................
รู้สึกบ้างไม๊ว่า สิ่งหนึ่ง นั้น อยู่ทุกตัวอักษร, สิ่งหนึ่ง นั้น อยู่ทุกคำที่บรรยาย ขยายความ

ออกมา ถ้าเมื่อใดที่มันไม่อยู่ นั่นก็คือ มันเลอะเลือน หลุดลอด ออกไปจากบทที่สาธยาย ก็

แสดงว่า สิ่งหนึ่ง นั้น มันตาย มันหาย มันหล่น มันไม่ได้อยู่กับเรา
เราต้องเพียรพยายามรักษา สิ่งหนึ่ง นั้น ให้อยู่ทุกตัวอักษรที่เราสาธยายอย่างชัดเจนแล้วก็

มั่นคง อย่าให้แว๊บออกไปข้างนอก อย่างนั้น เค้าเรียกว่า สวดแต่ซาก แต่ขาดสิ่งหนึ่ง นั่นคือ

ขาดสติ
พาหุง......
.................
สวดถอยหลัง
..............
จบเจริญพระพุทธมนต์

7 ธ ค 2555    19.45 น.  ณ.ทองผาภูมิ  ระหว่างปฏิบัติธรรม โดย

องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
ดูซิว่า เอา สิ่งนั้น ตั้งอยู่ในกาย ไม่ต้องหลับตา มองตรงไปข้างหน้า
สำรวจดู ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า นั่งอยู่ในท่าไหน
นั่งพับเพียบ หรือ นั่งคุกเข่า หรือ นั่งขัดสมาธิ มือวางอยู่ข้างไหน
คอกับบ่า เอียงไปข้างไหน
สำรวจ อย่างนี้ เรียกว่า มี สิ่งนั้น อยู่ในกาย
..............
เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน ก็ได้
..............
ไม่ต้องสนใจลมหายใจ ยังไม่ต้องสนใจ
ลมหายใจ ก็เป็นกายอย่างหนึ่ง
แต่ตอนนี้ เอาของหยาบๆ ก่อน
..............
อยู่ในกาย ดูในกาย ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า กระดูก โครงสร้าง
ดูซิว่า กระดูกสันหลัง ตั้งตรงไม๊
โค้ง งอ คด บิดเบี้ยว
ปรับ
..............
น้ำหนักตัว อยู่ขวามาก หรือ ซ้ายมาก
ตะโพกข้างไหน รับน้ำหนักมาก
ปรับ
มีสติในกาย กายไม่ลำบาก
...............
อ้ายที่ลำบากอยู่ แสดงว่า ไม่มีสติที่จะปรับ
..............
พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้ทรมาน ให้ลำบาก
สอนให้ไม่ลำบาก
..............
ดูโครงสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ดูแขน ดูขา ดูนิ้วมือ
ดูซิ
...........
จับอะไรอยู่ กำอะไรอยู่
..............
เกร็งอยู่ หรือ ผ่อนคลายอยู่
................
ดูแขน ดูขา ดูนิ้วมือ
เสร็จแล้ว ดู กล้ามเนื้อบนใบหน้าซิ
..............
เกร็งอยู่ ขมึงทึง เครียด หรือว่า ปล่อยโดยธรรมชาติ
ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเก๊ก
ไม่ต้องยกหน้า ไม่ต้องตึง ไม่ต้องดึง
...............
กล้ามเนื้อบนใบหน้า กล้ามเนื้อหว่างคิ้ว
.............
กล้ามเนื้อลูกตา เปลือกตา
..............
กล้ามเนื้อมุมปาก ปากล่าง ปากบน
................
เมื่อดู ส่วนที่หยาบได้แล้ว
ต่อไป ดูส่วนที่ละเอียด
ลองดู ลมหายใจ กำลังเข้าอยู่ หรือ ออกอยู่
.............
ถ้าเข้าอยู่ เข้าสุดที่ไหน
เวลาออก ออกหมดแล้วหรือยัง จึงเข้า
หรือ ออกไม่หมด แล้วรีบเข้า
ตามดู
................
เรียกว่า มี สิ่งนั้น ในลมหายใจ
...............
ทีนี้ ทิ้งลมหายใจ ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ
.............
อยู่กับ ความว่าง
มี สิ่งนั้น อยู่อย่างเดียว กับ ความว่าง เฉยๆ
เรียกว่า สุญญตสมาธิ
...............
สมองว่าง กายว่าง ใจว่าง อารมณ์ว่าง จิตว่าง
ความปรุงแต่งทั้งปวง ว่างหมด
.................
มีแต่ ตัวรู้ เฉยๆ
ท่านผู้รู้ ปรากฏ, พระพุทธะ อยู่กับเรา
เมื่อใดที่เรามี ตัวรู้, ท่านผู้รู้ นั่นคือ พระพุทธะ
พระพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น
................
รักษา ตัวรู้ ให้อยู่กับเรา
................
รู้สึกตัว อยู่เฉยๆ
...............
รู้ แล้วอยู่เฉยๆ
................
ไม่ว่า แมลงจะกัด ยุงจะต่อย อะไรจะไต่
ปล่อย ไม่สนใจ
.................
เพราะ อยู่กับ ความว่าง เฉยๆ
...............
อย่าหลับตา เพราะถ้าไม่มั่นใจตัวเอง
การหลับตา ก็คือ การปล่อยให้ ความไม่เฉย เกิดขึ้นแล้ว
..............
ปล่อยให้ ความไม่ว่าง เกิดขึ้นแล้ว
ปล่อยให้ สิ่งนั้น ตายลงแล้ว
................
อุตส่าห์ตะกายมาตั้งไกล ไม่ได้ให้มานอน
ให้มาค้นหา สิ่งนั้น, สั่งสม สิ่งนั้น
ทำให้เกิด สิ่งนั้น
..............
นอนมาทั้งชีวิต มันก็ไม่ได้พัฒนาดีอะไรขึ้นกว่าเก่า
..............
เรื่องแค่นี้ เอาชนะมันไม่ได้ แล้วชาติไหน เมื่อไหร่จะชนะ
............
อยู่กับ ความว่าง เฉยๆ
..............
กายว่าง ใจว่าง จิตว่าง สมองว่าง
กล้ามเนื้อทุกส่วน ผ่อนคลาย
อารมณ์ว่าง ความรู้สึกว่าง ไปหมด
...............
แม้ตัวเรา จะมีปรากฏการณ์อย่างไร ก็อย่าไปใส่ใจ
..............
ริ้นมันจะไต่ ไรมันจะตอม ยุงมันจะกัด แมลงมันจะไช
...............
เมื่อ ว่าง แล้ว, ไม่มี ตัวกู, เอาที่ไหนมาวุ่นวาย
...............
พระพุทธเจ้าทรงสอนโมฆราช
โมฆราชะ เมื่อใดที่ท่านเห็น ความว่าง, พิจารณา ความว่าง, อยู่กับความว่าง
เมื่อนั้น มัจจุราชไม่เห็นท่าน, เมื่อนั้น มัจจุราชไม่เห็นเธอ
..............
ในความว่าง ไม่มีทุกข์ ไม่มีเจ็บ ไม่มีปวด ไม่มีเมื่อย ไม่มีคัน ไม่มีง่วง
...............
อ้ายที่ ง่วง ป่วย เมื่อย เจ็บ ปวด แสดงว่า มันไม่ว่าง
...............
ที่ต้องคัน ที่ต้องเกา ที่ต้องแกะ ที่ต้องแคะ แสดงว่า ไม่ว่าง
มี ตัวกู เป็นใหญ่, ยัง อยากอยู่, ยังอยู่กับ ตัวกู อยู่
ไม่ได้อยู่กับ ความว่าง
..................
เมื่ออยู่กับ ตัวกู ก็อยู่กับความตาย, อยู่กับความเจ็บ, อยู่กับความป่วย
อยู่กับมัจจุราช อยู่กับความเสื่อม อยู่กับความทุกข์ อยู่กับความทุรนทุราย
ก็คือ อยู่กับนรก
..............
ถ้าอยู่กับ ความว่าง คือ อยู่กับสิ่งที่ไม่มี
ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ตาย ไม่ทุกข์ ไม่ทุรนทุราย
ไม่เกา ไม่คัน ไม่เมื่อย ไม่หิว ไม่กระหาย
ไม่ง่วง ไม่หนาว ไม่ร้อน
...............
ไม่มี แม้แต่ชาติภพ
.................
ในความว่าง ไม่มีความตาย
..............
ในความว่าง ไม่มีความป่วย ความหิว ไม่มีความเจ็บ
ไม่มี แม้ ตัวกู
.............
พา ความว่าง ลุกขึ้นยืน
..............
ยืน อย่างคนว่าง อย่างผู้ว่าง อยู่กับความว่าง
ยังว่างอยู่
...............
ใครที่ยืนแล้ว ไม่ว่าง ให้ลงไปนั่ง
.............
เพ่ง ความว่าง เป็นอารมณ์
ถ้าไม่อยากเป็นทุกข์ ทรมาน
..................
ในความว่าง ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน
ไม่มีมืด ไม่มีสว่าง
ไม่มีอนาคต
..............
ไม่มีอดีต
............
แม้ที่สุด ก็ไม่มีปัจจุบัน เพราะมัน ว่างไปหมด
ถ้าถึงขั้นนั้น ก็แสดงว่า เรา เป็นผู้พ้นแล้ว
ถ้าความว่าง ยังมีปัจจุบัน ก็แสดงว่า ยัง ว่าง ไม่ถึงขีดสุด
................
เพราะ ในความว่าง ไม่มีกาลเวลา, มันจะมี ปัจจุบัน ได้อย่างไร
................
มันไม่มีชั่วโมง, ไม่มีนาที, ไม่มี วัน เดือน ปี
มันก็ไม่มีปัจจุบัน
................
ถ้าข้ามพ้นปัจจุบันไปได้ จึงจะเรียกว่า สุดยอดแห่งความว่าง
นั่นคือ วิโมกขศักดิ์ ความพ้นแล้ว
...............
ปัจจุบัน เป็นสิ่งสมมุติ ที่เรายังยึดติดอยู่
จึงทำให้เกิด ความไม่ว่าง เพราะ ยังยึดอยู่ในปัจจุบัน
................
เหมือนกับบุคคล ที่ยังยึดอยู่กับกาลเวลา
................
พา ความว่าง หันไปรอบๆ ตัว 1 รอบ
.................
แล้วหยุดอยู่กับที่
เปรียบ ความว่าง เป็นวิชา หรือไม่
ก็ อวิชชา มันทำให้เกิดสังขาร การปรุง
เพราะ สังขาร การปรุง ทำให้เกิด วิญญาณ การรับรู้
ตอนนี้ เราไม่ใช่มี อวิชชา
จิตเรา ว่าง, จึงไม่ปรุง
.............
ไม่มี สังขาร อะไรให้ปรุง
วิญญาณ การรับรู้ ซึ่งเป็นธรรมชาติของวิญญาณ ต้องทำหน้าที่ รับรู้
ก็รับรู้แต่ ความว่าง เฉยๆ
.................
นามรูป ที่ปรากฏ ก็เป็น นามรูปที่ปรากฏอยู่เดิม ซึ่งเราไม่ได้ทำให้มันปรากฏ
.................
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า สฬายตนะ หรือ แดนต่ออารมณ์
เราก็ไม่ได้สืบสานให้เกิด ชาติ ภพ ชรา มรณะ พยาธิ หรือ เวทนาใดๆ
เพราะ มีแต่ ความว่าง อย่างเดียว
ความว่าง จึงสามารถทำลาย ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปฏิจจสมุบรรณธรรมได้ ในฉับพลัน
...............
เมื่อ เวทนา ไม่ปรากฏ, ตัณหา ความทะยานอยาก ไม่เกิดในความว่าง
ชาติ ภพ มันจะมาจากไหนใน ความว่าง
..............
หัน ไปทางขวามือ
ดูว่า ขวามือ ว่างอยู่ไม๊
หมุนตัวไปทาง ขวามือ
ขวามือ ยังว่างอยู่ไม๊
...............
ทิศทางขวามือ ยังว่างอยู่ไม๊
................
หมุนตัว มาด้านหลัง
ด้านหลังตัวเอง ยังว่างอยู่ไม๊
ทิศที่อยู่ข้างหลังตัวเองเมื่อครู่นี้ ว่างอยู่ไม๊
..................
ถ้าจะว่ากันแล้ว ทิศเหนือว่าง ทิศตะวันออกว่าง ทิศใต้ว่าง ทิศตะวันตก ว่างไม๊
ทั้ง 4 ทิศ ว่างอยู่หรือไม่ สำรวจให้ได้ทุกทิศ
ให้ว่างให้ครบทั้ง 4 ทิศ แล้ว ลงนั่งอย่าง ว่าง
...............
เมื่อมองดูทั้ง 4 ทิศ ว่างหมดแล้ว จึงลงนั่ง
..............
เพ่งความว่าง, อยู่กับความว่าง
มี ท่านผู้รู้ อยู่กับความว่าง เฉยๆ
....................
สิ่งนั้น มีอยู่ แต่อยู่กับ ความว่าง
................
ทีนี้ มันพ้นเขตจำกัดของกาย ไปสู่ความว่างแล้ว
กาย มีขีดจำกัด, เวทนา มีขีดจำกัด
จิต กับ ธรรม ไม่มีขีดจำกัด
..............
สิ่งที่เราเป็นอยู่นี่ อยู่กับ จิต และธรรม
...................
เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า จิตศักดิ์สิทธิ์ และ ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์
เพราะ มี สิ่งนั้น ปรากฏอยู่กับความว่าง
สิ่งนั้น เป็นธรรมอันศักดิ์สิทธิ์
................
ไม่มีอะไรวิเคราะห์ ไม่มีอะไรตรึก ไม่มีอะไรกังวล
สมองโล่ง จิตว่าง ชาติภพไม่เกิด
ชรา มรณะ พยาธิ ก็ไม่อุบัติ
.................
หลัก ปฏิจจสมุปบาท
เพราะ อวิชชา ทำให้เกิด สังขาร การปรุง
ความไม่รู้ ทำให้ปรุง
ตอนนี้ เรารู้แล้ว เลยไม่มีเรื่องอะไรปรุง
..................
กาย กับ ใจ ก็ไม่มี
เหตุผลว่า เราว่างอยู่ จะเอาที่ไหนมาให้ปรุง
วิญญาณ การรับรู้ ยิ่งเป็นการรับรู้แต่ความว่างเฉยๆ
..................
ตา หู จมูก ลิ้น ยิ่งแล้วใหญ่
เพราะไม่มีเครื่องอะไร ที่จะเข้ามาทำให้เราไม่ว่าง
................
สุข ทุกข์ เวทนา ก็ไม่ปรากฏ เพราะมีแต่ความว่าง
ถึงได้บอกว่า ความว่าง ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์
ความว่าง ไม่มีทรมาน ไม่ทุรนทุราย
................
พระพุทธเจ้าสอนพระโมฆราชแบบนี้
................
ใจว่าง สมองโล่ง ใจเบา ที่เรียกว่า ลหุตา คือ เบากาย เบาจิต
....................
ก็ยังไม่ดี เพราะมีคำว่า ลหุตา ยังอยู่ในชั้นประถม
ถ้ามันจะดีที่สุด เมื่อมันไม่มีปัจจุบัน
ลหุตา ก็ต้องไม่ปรากฏ
เพราะ ไม่มี ตัวกู ที่ไหนจะเบา จะมีอะไรมาเบา
ที่มันเบา เพราะมี ตัวกู
ก็แสดงว่า ยังไม่ว่างอีก, ต้อง ว่าง ลึกเข้าไปอีก
..............
อยู่วัด บอกแล้วว่า จะต้องสอนให้ข้ามโคตรภูญาณ ให้ได้
นี่คือ วิธีหนึ่ง
................
ต้อง ว่าง ให้ลึกเข้าไป จนถึงไม่มีคำว่า ปัจจุบัน
นั่นคือ เหนือกาลเวลา
.................
ว่าง จนถึงที่สุด
..................
กระชับ, เพ่ง ความว่าง ให้หนักแน่น
..................
ว่าง จนไม่มีตัวกู, ไม่มีกาลเวลา ไม่มีสมมุติบัญญัติ
ไม่ติดในบัญญัติใดๆ ทั้งสิ้น
.....................
ว่างแล้ว ต้องสนใจลมหายใจทำไม
ถ้ากลับมาสนใจลมหายใจ ก็แสดงว่า เริ่มไม่ว่าง แล้ว
เพราะมี ตัวกู ยังหายใจอยู่
..................
ว่างแล้ว ไม่ใช่ ไม่หายใจ
ว่างแล้ว ก็ไม่ใช่ว่า ต้องรับรู้ลมหายใจ
แต่ ความว่าง กับ ลมหายใจ มันคนละเรื่องกันนี่
.................
ต้องทำความเข้าใจเสียใหม่
....................
หายใจส่วนหายใจ ไม่เกี่ยวอะไรกับความว่าง
..................
นั่งเต๊ะท่าแล้ว มันว่างได้
ลองนั่งไม่เต๊ะท่าดูบ้าง ดูว่า มันจะว่างได้ไม๊
ความว่าง ไม่มีข้อจำกัดในอิริยาบท
...................
อย่าติดอยู่ในสุข อย่าติดอยู่ในปิติ
เพราะเมื่อใดที่มี สุขกับปิติ ปรากฏ แสดงว่า เริ่มไม่ว่างแล้ว
เรากำลังเข้าณานแล้ว
ว่าง มันต้องเหนือฌาน
................
ปิติ กับ สุข เป็นคุณของฌาน
..............
เราไม่ได้ฝึกฌาน เราฝึกสิ่งที่มันสูงกว่าฌาน
................
ออกไปจากศาลา
ไปทำอะไรก็ได้ ด้วยความว่าง
แล้วได้ยินสัญญาณแล้ว กลับมารวมกัน ด้วยความว่าง
.................
จะไปเข้าห้องน้ำห้องท่า ยืน เดิน นั่ง ขับถ่าย ขี้ เยี่ยว ตด
รักษาความว่าง
...............
จะยืน จะเดิน จะขี้ จะเยี่ยว จะตด จะอะไรก็
..............
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนพิการ ไม่ได้สอนคนตาย แต่สอนสิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่เคลื่อนไหวได้

อย่างผู้ประเสริฐ ไม่ใช่จะรอประเสริฐตอนที่หยุดนิ่ง แต่เคลื่อนไหวได้อย่างผู้ประเสริฐ
ถ้าคิดว่าจะประเสริฐตอนหยุดนิ่ง ก็แสดงว่า ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ผู้ที่จะประเสริฐได้ ต้องประเสริฐทุกอิริยาบท ไม่ใช่แค่หยุดนิ่งแล้วจึงจะประเสริฐ
ระวัง, ความว่าง จะซึมสิงเข้าไปในตัวกู แล้วมีตัวกูใหญ่กว่าความว่างนะ
อิริยาบทใดก็ตาม ที่กำลังทำอยู่ อย่ามี ตัวกู อยู่ใน ความว่าง เด็ดขาด
เพราะเมื่อใดที่มีคำว่า ตัวกู อยู่ในความว่าง แสดงว่า เริ่มไม่ว่าง
อย่างนี้แหละ ที่ปราชญ์ของแผ่นดิน ท่านสอนว่า ทำงานด้วยใจว่าง
แต่ปราชญ์องค์นั้น ท่านก็ตายเสียแล้ว เรียกว่า มรณภาพเสียแล้ว
ไม่มีใครเชื่อท่าน ไม่คิดว่า ว่างแล้วมันจะทำได้หรือ
แต่จริงๆ แล้ว มันทำได้ เพราะเราก็ยังเดินได้นี่
เรายังขี้เยี่ยวตด เดินได้ ยืนได้ นั่งได้
...........
ระวัง จะเป็นมิจฉาสตินะ
มิจฉาสติ ก็คือ มีตัวกู เข้ามาปรากฏในความว่าง
ตอนนี้ เราเป็นสัมมาสติ คือ มี สิ่งหนึ่ง นั้นอยู่กับความว่าง
เพราะ สิ่งหนึ่ง นั้นคือ ท่านผู้รู้
และ สิ่งหนึ่ง นั้นคือ สติ
สติ คือ ความรู้ตัว
รู้สึกตัว อยู่กับความว่าง
เป็น สิ่งหนึ่ง นั้น ที่เป็นสัมมา
รู้อยู่กับความว่าง, เป็น สิ่งหนึ่ง นั้นที่เป็นสัมมา
แต่ถ้าเมื่อใดที่ไม่ว่าง, สิ่งหนึ่ง นั้น ก็กำลังจะเปลี้ย อ่อนแอ
เพราะมี ตัวกู เข้ามาแทนที่แล้ว
................
ยืนก็ว่าง, เดินก็ว่าง, นั่งก็ต้องว่าง
นอนก็ว่าง ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ
ไม่ต้องใช้ยาแก้เครียด ไม่ต้องใช้ยาประสาท
ไม่ต้องอาศัยอาหารเสริม
เพราะในความว่าง, ไม่มี ตัวกู ให้บำรุง
...............
อย่าลืม อย่าให้ ตัวกู เข้ามาอยู่กับความว่าง
รู้ กับ ว่าง มี 2 สิ่งนี้เท่านั้น
.................
สำรวจดูซิว่า สมองว่างอยู่ไม๊, ใจว่างอยู่ไม๊, อารมณ์ว่างอยู่ไม๊
..............
ถ้าชั้นอนุบาล ก็ต้องบอกว่า ว่างจนกายเบา ใจเบา นี่ ชั้นอนุบาล
..............
ชั้นประถม ก็ต้องบอกว่า ว่าง จนกระทั่ง มันไม่มีกาย ไม่มีใจ
.................
ชั้นมัธยม เตรียมอุดม มหา’ลัย ก็ต้องบอกว่า ว่าง จนไม่มีปัจจุบัน ไม่มีกาลเวลา
ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน นั่นคือ ว่าง ไม่มีกาลเวลา
ถ้าถึงชั้นนี้ ก็จบ
ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
................
ทีนี้ฟัง คำสอนบทต่อไป
จะพูดก็ตาม จะคิดก็ตาม ต้องตรึกให้ได้ว่า สิ่งที่พูด สิ่งที่คิด เป็นการพูด การคิด ด้วยความว่าง

หรือ ประกอบไปด้วยอารมณ์
อารมณ์อะไรบ้าง
ด้วยราคะ ด้วยโทสะ หรือ ด้วยโมหะ
แสดงว่า สิ่งที่พูดนั้น ไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานของคำว่า มีธรรมศักดิ์สิทธิ์ มีท่านผู้รู้ หรือมี

สิ่งนั้น แล้ว แต่ยืนอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ มีอารมณ์เป็นตัวฉุดกระชากลากถูออกไป ซึ่ง

จะแตกต่างจากการพูด การคิดซึ่งประกอบไปด้วยธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ สิ่งหนึ่ง นั้น หรือ

ท่านผู้รู้ หรือ มีสติ
ตัวอย่างเช่น ถ้าจะพูดอย่างบุคคลผู้มีสติ รู้ มีท่านผู้รู้ หรือ อยู่กับ สิ่งหนึ่ง นั้น ก็จะพูดแบบ

ไม่ประกอบไปด้วยอารมณ์ แต่มีเหตุและผล คือ มีเหตุผลที่ต้องให้พูด หรือ ต้องสื่อความ

หมายให้รับรู้โดยไม่ใช้อารมณ์เข้าไปใส่ เหมือนอย่างที่หลวงปู่กำลังพูดอยู่กับพวกเราทุก

คนนี่ พูดด้วยความรู้และเหตุผล โดยไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอวิชชา  
อย่างนี้ต่างหาก ที่เรียกว่า ทำงานด้วยใจว่าง, ด้วยวิชา, ด้วย สิ่งหนึ่ง นั้น, ด้วยท่านผู้

รู้, ด้วยพระพุทธะ
แต่ถ้าเมื่อใดที่เรามีอารมณ์โกรธแล้วพูด, โง่แล้วพูด,หลงแล้วพูด,โลภแล้วจึงพูด

แสดงว่า ไม่ใช่แล้ว มันกลายเป็นมิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ออกจากมรรควิถี มันกลายเป็นเผ่า

พันธุ์ และพวกพ้องของมาร และซาตานไปแล้ว ไม่ใช่ของพระพุทธะแล้ว เพราะ เราทำ พูด

คิด ด้วยแรงผลักและการขับเคลื่อนของราคะ โทสะ โมหะ หรือ อวิชชาแล้ว
ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราโดนมันขับเคลื่อนตลอดเวลา เรียกว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ก็เป็นเครื่อง

ยนต์ที่ใช้พลังงานไม่บริสุทธิ์ ขับเคลื่อนมาตลอด มันจึงมีมลพิษ มีกลุ่มควันเสีย มีไอเสีย

ปรากฏ
จึงเป็นที่มาของคำว่า ผู้ไม่มีสติ ทำ พูด คิด จึงผิดพลาดเสมอ
เพราะงั้น ถ้ามี สิ่งหนึ่ง นั้น เราก็จะขับเคลื่อน ไม่ว่าจะอิริยาบท กิจการ การงาน ด้วย สิ่งหนึ่ง

นั้นซึ่งไม่มีข้อผิดพลาด ไม่มีเสียหายเลย
เอ้า ลองสังเกตุซิ จะเดินไปเข้าห้องน้ำก็ได้ เราไปเข้าห้องน้ำ เพราะเราปวดท้องขี้ท้องเยี่ยว

หรือว่า ไป เพราะว่า เราอยากไปเฉยๆ, ไม่รู้จะทำอะไร เลยไป, อ้าว แสดงว่า ไป

เพราะว่า โมหะ คือ ความหลงล่ะ เพราะทุกอย่างมีเหตุ มันต้องรู้ตามเหตุให้ได้ว่า เราเดินไป

ข้างหน้าเพราะอะไร แสดงว่า เราอยู่กับ สิ่งหนึ่ง นั้น, สิ่งหนึ่ง นั้น อยู่กับการเดินอยู่กับเรา

หรือ การเดินของเรา
แต่ถ้าเดินไปแล้ว ไม่รู้ที่มาที่ไป, เดินส่งเดช ยืนอยู่ส่งเดช, ไม่รู้เรื่งอะไร เค้าให้ยืน กูก็

ยืน, หลับๆ ตื่นๆ กูก็ยืนแล้วล่ะ แสดงว่า สิ่งหนึ่ง นั้นในการยืนไม่มีแล้ว, เรายืนด้วยซาก

คือ ยืนด้วยความหลง ยืนด้วยความโง่ ยืนด้วยโมหะ
ลองทำซิ ทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองคิดว่า จำเป็นต้องทำ แต่มี สิ่งหนึ่ง นั้น ในการกระทำ, หา

เหตุผลในการทำนั้นให้ได้
................
นี่เป็น วิปัสนาญาณแล้ว
..................
เป็น มหาสติปัฏฐาน กาย, มีสติอยู่ในกายแล้ว
ด้อยลงมาจากความว่างอีก
เพราะว่า คำว่า ว่าง เมื่อครู่นี้ เราสูงกว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี่
แต่เราจำเป็นต้องมีภาระ มีหน้าที่การงาน เพราะคนเราอยู่กับ ความว่าง เฉยๆ เราอาจจะคิด

ได้ว่า เราไม่คุ้นเคยด้วยเหตุผลว่า เราคิดแล้วจึงจะทำ แต่ลืมไปว่า อ้ายสิ่งที่เราคิดนั้น มันคิด

ด้วยโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อวิชชา สิ่งนี้ เราลืมไปต่างหาก
แต่เมื่อครู่ ให้เข้าถึงความว่าง เพื่อให้ ความว่าง เป็นพื้นฐานของความคิดไง, ให้ ความว่าง

เป็นพื้นฐานของอารมณ์ไง, ให้ความว่างเป็นพื้นฐานของจิต ทีนี้ จะ ทำ พูด คิด ก็ยืนอยู่

บนพื้นฐานอันถูกต้องที่เรียกว่า ความว่าง ซึ่งจะแตกต่างจาก ทำ พูด คิด ที่ ไม่ได้มีความว่าง

เป็นพื้นฐาน แต่มีราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา เป็นพื้นฐาน
................
คนๆ เดียวกัน ทำเหมือนกัน แต่คุณค่าได้ต่างกัน คุณภาพก็แตกต่างกัน และสิ่งที่ได้ก็จะเสีย

น้อยกว่ากัน
...............
คล้ายๆ กับพระอรหันต์ที่ทำแล้วไม่เอา ทำแล้วไม่มีตัวกูน่ะ เรียกว่า ทำแล้วไม่เอา ไม่ต้อง

การ ไม่อยาก ทำ เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ เพราะทุกคนเกิดมาในโลกใบนี้ สัตว์ทุกชนิด

เกิดมา มีหน้าที่ของตน หน้าที่เหล่านั้นอยู่ในอำนาจของกรรมและกาลเวลา
แต่ถ้าเมื่อใดที่เราอยู่ชั้นเตรียมอุดม ความว่างอันสูงสุดที่จะเหนือกรรมและกาลเวลา ยังมีอยู่

ซึ่งไม่มีอะไรจะเอื้อมเข้าไปถึง
.................
จะทำอะไรก็ได้ที่เรายังไม่ได้ทำ จะแผ่เมตตา จะกราบลาพระ จะว่าอะไรก็เอาเข้า
...............
ยังไม่ได้แผ่เมตตาไม่ใช่เหรอ ยังไม่ได้กรวดน้ำนี่นา ทำไมไม่ทำเข้าล่ะ
.................
หรือ โจทย์มันจะยากไป
.................
เพราะโดยสัญชาติญาณของมนุษย์ทั่วไป ทำอะไรต้องด้วยกำลังผลัก และการขับเคลื่อนของ

ตัณหาเสมอ ราคะเป็นแรงผลัก โทสะเป็นแรงดัน โมหะเป็นแรงเคลื่อน เราอาศัยสิ่งเหล่านี้

เป็นกระบวนการในการขับเคลื่อนให้เราต้องทำ พูด คิด อยู่เนืองๆ ตลอดมา ไม่ใช่แค่ชาติ

เดียว เป็นหลายร้อยหลายพันชาติ
พอมาใช้ ความว่าง ขับเคลื่อน เราก็เลยรู้สึกจับต้องอะไรไม่ได้
นี่คือ ธรรมชาติของคน
.................
มันเป็นของแปลก แปลกจนไม่คิดว่า มันจะทำได้ เราเชื่ออย่างนั้น
...................
ทุกคนกรวดน้ำ แผ่เมตตา
ยังอยู่บนพื้นฐานของความว่าง
.......................
ว่าง มีแต่บทกรวดน้ำ กับความว่าง ถ้ามีสิ่งอื่นแว๊บเข้ามา แสดงว่า ไม่ว่าง
สิ่งหนึ่ง นั้นตายไปแล้ว
..................
เพราะ ว่างกับการกรวดน้ำ ก็แค่นั้น จะมีสิ่งอื่นมาเจือปนได้อย่างไร
ถ้ามีสิ่งอื่นแว๊บเข้ามาเจือปน ก็แสดงว่า ไม่ว่างแล้ว
...............
นี่คือ เครื่องพิสูจน์ว่า ทำงานด้วยใจว่าง เค้าทำอย่างไร
................
ในขณะที่กรวดน้ำ ก็มีแต่บทกรวดน้ำ
ในขณะที่แผ่เมตตา ก็มีแต่ผู้รับกับการแผ่เมตตา และผู้ให้แผ่เมตตา ไม่มีบุคคลที่ 3
...............
คำว่า สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ก็มีอยู่แค่นั้น ไม่มีสิ่งอื่นเข้ามาปนกับสัตว์ทั้งหลาย
.................
ถึงสัตว์ทั้งหลายจริงๆ ถึงเทวดาจริงๆ ถึงมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากจริงๆ
ว่าง กับสิ่งนั้น ที่เราปรากฏและต้องการ หรือประสงค์จริงๆ
ไม่มีสิ่งอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว วุ่นวาย
ซื่อตรง ชัดเจน
..............
นี่คือ หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ทำงานด้วยใจว่าง หรือ ด้วยความว่าง มันซื่อตรง ชัดเจน
มันไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอวิชชา ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน
ไม่มีอะไรทั้งนั้น
มีแต่หน้าที่ กับ ความว่าง
....................
แต่ถ้ามันเกินเลยไปกว่านี้ ก็แสดงว่า ไม่ว่างล่ะ
มันจะต้องมีอะไรเข้ามาแล้วล่ะ
อะไรนั้น ต้องรู้ตามด้วย รู้ให้ได้ด้วยว่า มันเป็นราคะ หรือ โทสะ หรือ โมหะ หรือ ตัณหา
เป็นอวิชชา คือ ความโง่เขลา เบาปัญญาของเราหรือเปล่า
..................
ในความว่าง มันไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล
มันมีแต่คำว่า หน้าที่
หน้าที่ กับ ความว่าง
.....................
เราทำ เพราะเรามีหน้าที่
เราไม่ได้ทำ เพราะเราได้บุญ
.................
มันว่าง แล้วมันจะได้บุญอะไร
เพราะ ความว่าง มันเหนือกว่า บุญ
...................
หน้าที่ ที่เราสวดมนต์มาแล้ว ก็ยังไม่ได้แผ่เมตตา กรวดน้ำ อย่างนี้เป็นต้น
...................
ก็ถือว่า เป็นหน้าที่
...............
แผ่เมตตา กรวดน้ำแล้ว อ้าว ยังไม่ได้กราบลาพระ
ก็เป็นหน้าที่
................
แล้วใครเป็นคนบอกหน้าที่เหล่านี้ มันเป็นสำนึก
สำนึกที่เรารับรู้ได้
....................
ทำสิ แล้วก็ไปพัก
(กราบ)
..................
(กราบ)
ฟังอีกครั้งหนึ่งว่า ขอให้สำรวจดูว่า ทำงานด้วยความว่าง มันคือ การใช้พลังขับเคลื่อนที่

บริสุทธิ์ หลังจากขับเคลื่อนแล้ว มันจะไม่มีภาระ คือ ทำไปแล้ว มันจะเบากายใจ แต่ถ้าทำ

งานด้วยใจไม่ว่าง มันจะต้องใช้พลังขับเคลื่อนที่ไม่เป็นราคะ ก็ต้องเป็นโทสะ, ไม่เป็น

โทสะ ก็ต้องเป็นโมหะ ความหลง ราคะ โทสะ โมหะ เป็นขบวนการขับเคลื่อน ที่มันสร้าง

มลทินตกทิ้งค้างเอาไว้หลังจากทำแล้วเสมอ เหมือนกับที่ใช้พลังงานไม่บริสุทธิ์ มันก็ต้อง

เกิดควันดำ เกิดหมอกควันที่เป็นมลพิษ ฉันใดก็ฉันนั้น เราต้องสำรวจด้วย เมื่อเราทำงาน

ด้วยใจว่างแล้ว เราทิ้งมลพิษอะไรไว้ กับทำงานด้วยแรงขับเคลื่อนของราคะ โทสะ โมหะ

อวิชชา มันทิ้งมลภาวะอะไรไว้
แล้วจะได้รู้ว่า คำสอนนั้น มันถูกต้องหรือไม่
ไปพัก แล้วพรุ่งนี้ ตี 5 พร้อมกันที่นี่
(กราบ)