เกี่ยวกับวัด

บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ได้แก่

  • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวัด
  • ประวัติวัด
  • แนะนำสถานที่
    • อารามธรรมอิสระ
    • โรงเจหอคุณธรรมฟ้า
  • ช่องทางการทำบุญกับทางวัด
  • ช่องทางการติดต่อ
    • email
    • โทรศัพท์ และ Fax.
    • website link
 
 
ขออธิบายความให้คุณเข้าใจว่า
ที่ฉันเขียนโพสต์ถึงสำนักวาติกัน โดยทำให้ผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากเจตนาที่ฉันนำมาโพสต์
เจตนาจริงๆ แล้ว ฉันต้องการจะชี้ให้เห็นว่า พวกกลุ่มก้อนของธรรมกาย โดยเฉพาะเจ้าสำนักและลิ่วล้อ เคยไปเยี่ยมเยียนสำนักงานวาติกัน พอเห็นความเจริญ ความศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจของวาติกัน
คนพวกนี้ก็นำเอามาเป็นโมเดล จะเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ไทยให้เหมือนวาติกัน โดยมีลัทธิธรรมกายเป็นศูนย์กลาง
ข้อมูลเหล่านี้แม้แต่หน่วยงานความมั่นคงก็รู้ดี
สำนักวาติกันมิได้มีอะไรเสียหาย
แต่ที่เสียหายคือพวกพระสงฆ์ไทยบางกลุ่ม จะไปดำเนินรอยตาม ซึ่งมันหมายถึง การทำลายรากฐานของพระธรรมวินัยอย่างสิ้นเชิง อันนี้แหละที่พุทธะอิสระหมายถึง
ขอย้ำ ที่เขียนถึงสำนักวาติกันหาได้มีเจตนาร้ายต่อสำนักวาติกันหรือองค์พระสันตะปาปา อย่างที่คุณว่ามาเลย
แต่ถ้าการโพสต์ครั้งนี้ มันจะทำให้พี่น้องชาวคริสตจักรไม่สบายใจ จะด้วยเหตุอันใดก็แล้วแต่
พุทธะอิสระ ก็ขอขมาอภัย ด้วยความจริงใจ ณ ที่นี้ด้วย
 
ได้เวลาสร้างทานบารมีกันอีกแล้ว
วันจันทร์ที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ นี้ พวกเราชาวครอบครัวธรรมอิสระ จะช่วยกันทำอาหารคาวหวานแจกให้แก่พี่น้องไทยผู้ประสบภัยโควิด
เพื่อช่วยบรรเทาความขาดแคลน เดือดร้อน เท่าที่เราจะสามารถช่วยกันได้
เมนูวันแรกช่วงเช้า ไก่ต้มฟักมะนาวดอง แกงส้มสายบัวปลานิล ผัดพริกถั่วฝักยาวหมูยอ ผัดคะน้าปลาเค็ม แกงบวชกล้วยน้ำหว้า
แจกอยู่สามที่คือ ที่หน้ามหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน หน้ามหาวิทยาลัยศิลปกร อำเภอเมืองนครปฐม และหน้าวัดอ้อน้อย
เริ่มแจกกันตั้งแต่ ๖ โมงเช้าเป็นต้นไป จนกว่าอาหารจะหมด
ใครอยู่ว่างๆ ที่บ้านไม่ได้ทำอะไร อยากทำให้ชีวิตที่เหลือมีคุณค่า เจริญด้วยอริยทรัพย์ที่สามารถนำไปใช้ในภพภูมิหน้าได้ ก็เชิญที่โรงทานวัดอ้อน้อย เริ่มกันตั้งแต่ตี ๓ จนถึง ๓ ทุ่ม ของทุกวัน
เชิญมาร่วมกันทำความดี แทนคุณแผ่นดินกันได้นะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
มีหลายคนที่ชอบถาม พุทธะอิสระ ว่าทำไมถึงต้องจงรักภักดีต่อสถาบันขนาดนั้น
ตอบโดยไม่ต้องคิดเลยว่า เพราะชั่วชีวิตของ พุทธะอิสระ ไม่เคยเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์ทำร้ายประชาชน มีแต่สถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ที่ทุ่มเททำคุณประโยชน์แก่ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และแม้ปัจจุบันก็ยังทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างไม่หยุดหย่อน

รวบรวมบรรยากาศกิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๓
วันที่ ๔ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

ประมวลภาพบรรยากาศวันอาสาฬหบูชา วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ >>>

กำหนดบวชเนกขัมมะเนื่องในวันปีใหม่ ๒๕๖๓
ณ วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
วันจันทร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ – วันพุธที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓

เต มะยัง โอติณณามหะ 
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา 
โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ 
โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ 
โดยความโศก ความรำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกขะปะเรตา 
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒

ชาวเราทั้งหลาย ผู้ปรารถนาปลดเปลื้องความทุกข์ทนได้ยากดังกล่าวนี้

มาร่วมหาวิธีปลดเปลื้องพันธนาการแห่งทุกข์ดังกล่าวนี้

ด้วยการบวชเนกขัมมะ ถือศีล ฟังธรรม เจริญสติปัญญา เพื่อให้รู้เท่าทัน สภาวะทุกข์ ที่จักเข้ามาครอบงำ

เพราะด้วยการศึกษาเรียนรู้ พระสัจธรรมความจริงอันประเสริฐแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น

จึงจักทำให้บังเกิดสัมมาสติ สัมมาปัญญา อันเป็นประดุจดังแว่นแก้ว สอดส่องขยายให้เห็นสภาวะทุกข์ตัวร้าย ที่เข้ามาครอบงำชาวเราได้ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังลุ้น กำลังเชียร์กับการจัดตั้งรัฐบาล ของบรรดานักการเมืองทั้งหลาย จนเกิดความทุกข์ ความเครียด

ลองหลบมาเข้าวัดเจริญสติปัญญากันดูบ้าง จักได้รู้วิธีกำจัดความทุกข์ ความเครียดเหล่านั้น

อีกทั้งการบวชเนกขัมมะถือศีลในครั้งนี้ ถือเป็นการน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชพลีต่อพระราชวงศ์จักรี ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐทุกๆ พระองค์ด้วย

พร้อมทั้งน้อมอุทิศบุญกุศลให้แก่ดวงวิญญาณพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ผู้เสียสละเลือดเนื้อชีวิตปกป้องแผ่นดินสยาม โดยนิมนต์พระสงฆ์ สวดมาติกาบังสุกุล อุทิศผลบุญให้แก่ท่าน

ชาวเราทั้งหลาย ใคร่รู้สึกตัวว่า ตนกำลังถูกครอบงำด้วยกองทุกข์ แล้วต้องการจักปลดเปลื้องให้หลุดพ้น ก็เชิญมาถือศีล ฟังธรรม เจริญสติปัญญาในวันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ จนถึง วันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ ที่จะถึงนี้กันนะจ๊ะ

พุทธะอิสระ

 สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง

การไม่ทำบาปทั้งปวง

หมายถึง การไม่ทำผิดชั่วบาป ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

กุสะลัสสูปะสัมปะทา

การทำกุศลให้ถึงพร้อม

หมายถึง การทำความชาญฉลาด สติปัญญา ให้เจริญรุ่งเรือง

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง

หมายถึง การชำระสำรอกจิตของตนให้ผ่องแผ้ว แจ่มใส

รวมความว่า พระธรรมโอวาทขององค์พระบรมศาสดาทรงตักเตือนให้ชาวเราทั้งหลายต้อง

- ไม่ทำชั่ว

- ฉลาด

- ทำจิตให้สะอาด

จบกิจพระศาสนา

พุทธะอิสระ

ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ. โรงพยาบาลศิริราช

 

  วันพฤหัสบดีที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๐๐ น.  พร้อมเพรียงกัน ณ.อาคาร๑๐๐ปี โรงพยาบาลศิริราช

            

โรงเจหอคุณธรรมฟ้า (เทียนหงีตึ้ง)

อัลบั้มภาพโรงเจ

  • ชื่อโรงเจหอคุณธรรมฟ้า
  • มูลเหตุในการสร้างโรงเจ
  • การสร้างโรงเจ
  • สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสำคัญของโรงเจหอคุณธรรมฟ้า
    • วิหารเชียนฟ้า

 

"โรงเจไม่ใช่เรื่องนอกศาสนา พระพุทธะหรือพระโพธิสัตว์หวังให้มนุษยชาติได้อยู่ร่วมกัน ทำสิ่งที่ดีที่งดงาม พัฒนาตนไปตามลำดับขั้นเพื่อนำไปถึงซึ่งความหลุดพ้น พระศาสดาเจ้าจึงอบรมสั่งสอนให้มีการให้ทาน โรงเจเป็นสถานที่เจริญทาน เพื่อนำไปสู่การเจริญศีล และเจริญภาวนาเป็นลำดับและเป็นขั้นตอน ซึ่งมีพระ โพธิสัตว์เป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาชีวิต สอนให้รู้ชีวิตเรียนชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เพื่อนำพาชีวิตไปให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ทั้งปวง" หลวงปู่พุทธะอิสระ 5 ธันวาคม 2550

 

ชื่อโรงเจ "หอคุณธรรมฟ้า"


หมายถึง คุณธรรมของฟ้า ในเบื้องต้นคือ ความกตัญญู กตเวทิตาตอบแทนคุณ ซึ่งบนผนังกำแพงโรงเจจะมีรูปมังกร จารึกข้อความไว้ว่า "พ่อแม่มีคุณธรรมลูกหลานกตัญญู" มังกร หมายถึงความร่ำรวยรุ่งเรืองเจริญเกิดแก่ผู้มีกตัญญูรู้คุณ

 

มูลเหตุเบื้องต้นในการสร้างโรงเจ


หลวงปู่พุทธะอิสระได้เล่าให้ลูกหลานฟังหลายครั้งว่า ในครั้งอดีตท่านเคยอาพาธหนักจากโรคลำไส้ถ่ายเป็นเลือดซึ่งเป็นผลจากการไปธุดงค์ที่เขมร ขณะนอนอาพาธหนักอยู่รูปเดียวภายในโรงเจซอยแสนสุข ได้ฝันว่ามีสตรีแต่งกายด้วยอาภรณ์งดงามนำผลลูกท้อมาถวาย เมื่อท่านได้ฉันผลลูกท้อนั้นแล้วตื่นขึ้นในตอนเช้าอาการอาพาธต่าง ๆ หายไปหมด และพบว่าสตรีที่นำผลท้อมาถวายก็คือพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ประดิษฐานอยู่ภายในโรงเจแสนสุขนั่นเอง เนื่องจากโรงเจแห่งนี้ไม่มีพระภิกษุประจำจึงถูกทิ้งร้างไม่มีคนดูแล หลวงปู่จึงได้ตั้งปณิธานไว้ว่าในอนาคตจะสร้างโรงเจถวายพระโพธิสัตว์เพื่อตอบแทนท่านผู้มีคุณ

 

การสร้างโรงเจ


เริ่มต้นก่อสร้างในปี 254…….. โดยหลวงปู่พุทธะอิสระเป็นผู้ออกแบบ และกำหนดแนวทางการสร้างทั้งหมด ท่านกล่าวว่าการสร้างโรงเจนั้นสร้างยากกว่าสร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างวิหารเพราะตำแหน่งของอาคาร วิหารต่างๆ ในโรงเจ รวมทั้งการประดิษฐานเทพเจ้า รูปเคารพ และสัญญลักษณ์มงคลต่าง ๆ ต้องถูกต้องตรงกับตำแหน่งและตัวเลขมงคลตามศาสตร์ฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้ที่มาทำบุญกราบไหว้ได้รับศิริมงคล โชคลาภ ความผาสุกอย่างแท้จริง ในช่วงแรกของการก่อสร้างโรงเจทางวัดได้จ้างช่างชาวจีนมาทำการก่อสร้าง แต่เมื่อหลวงปู่มาตรวจงานพบว่างานก่อสร้างไม่ได้คุณภาพ โครงสร้างอาคารผิดเพี้ยนไม่ตรงตามหลักมงคลฮวงจุ้ย แม้ข้อบกพร่องผิดพลาดเพียงเล็กน้อย แต่หลวงปู่ท่านจะสั่งให้ทุบทิ้งทันทีทำให้การก่อสร้างโรงเจเป็นไปด้วยความล่าช้า และสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ในที่สุดท่านได้ยกเลิกการจ้างคณะช่าง และเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างโรงเจทั้งหมดเอง ทำให้โรงเจหอคุณธรรมฟ้า เป็นโรงเจที่มีรายละเอียดที่ประณีตงดงาม และถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักมงคลของศาสตร์ฮวงจุ้ยโบราณ เพื่อให้สาธุชนที่มาไหว้พระทำบุญ ณ สถานที่แห่งนี้ได้รับแต่สิ่งที่เป็นมงคลอย่างแท้จริง
        ปัจจุบันนี้อาคารสำคัญของโรงเจหอคุณธรรมฟ้าได้ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว คงเหลือการก่อสร้างปลีกย่อย และการเก็บรายละเอียดต่าง ๆ และได้เปิดให้สาธุชนได้เข้ามาไหว้พระ สักการะเทพเจ้า ณ บริเวณด้านหน้าโรงเจ และสามารถชมความงามของพุทธศิลป์ จีน ธิเบต ไทย ภายในโรงเจได้ทุกวัน ประมาณการว่าโรงเจทั้งหมดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ภายในปี.................นี้ ซึ่งจะได้มีพิธีศักดิ์สิทธิ์คือการอัญเชิญพระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าต่าง ๆ เข้าประดิษฐาน ภายในโรงเจ และพิธีเฉลิมฉลองเปิดเป็นทางการให้ประชาชนได้เข้ามาทำบุญไหว้พระต่อไป

 

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสำคัญของโรงเจหอคุณธรรมฟ้า

 

ประตูสวรรค์


ซุ้มประตูด้านหน้าสุดของโรงเจ เปรียบได้ดั่งประตูสวรรค์ ที่นำสาธุชนเข้าสู่หนทางการเรียนรู้พัฒนาชีวิตของตนให้มีคุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้น เหนือซุ้มประตูจารึกชื่อโรงเจด้วยตัวอักษรจีน 3 ตัว คือ เทียน – หงี – ตึ้ง หรือ หอคุณธรรมฟ้า หมายถึง คุณธรรมของฟ้าเบื้องต้น คือความกตัญญู กตเวทิตาตอบแทนคุณ บนผนังกำแพงมีรูปมังกร จารึกข้อความว่า "พ่อแม่มีคุณธรรมลูกหลานกตัญญู" มังกร หมายถึงความร่ำรวยรุ่งเรืองเจริญเกิดแก่ผู้กตัญญูรู้คุณ
เมื่อผ่านประตูสวรรค์เข้าไปภายใน ด้านหน้าโรงเจจะเห็นเสาต้นใหญ่ ซึ่งอยู่ในทิศทั้ง 4 แต่ละต้นจะมีรูปเคารพและมีมงคลอยู่ในเสาทั้ง 8 ต้น
เสาซ้ายมือด้านหน้า 2 ต้นเขียนเป็นภาษาจีน และ 2 ต้นด้านหลังเขียนเป็นภาษาไทยว่า "ดวงดาราคือทรัพย์สินบริวารของเจ้า" และ "สุริยันจันทราคือปัญญาของเจ้า"
ส่วนเสาขวามือด้านหน้า 2 ต้น เขียนเป็นภาษาจีน และ 2 ต้นด้านหลังเขียนเป็นภาษาไทยว่า "ขุนเขาคือวาสนาของเจ้า" และ "ฟ้าคือชีวิตของเจ้า"

อาคารสำคัญภายในโรงเจหอคุณธรรมฟ้า

ภายในโรงเจประกอบด้วย อาคารใหญ่ 2 อาคาร คือ อาคารวิหารเซียนฟ้า และอาคารวิหารพระโพธิสัตว์ มีอาคารหลังเล็ก 4 อาคารตั้งอยู่ด้านข้างซ้ายและขวาทั้งสี่ทิศรอบโรงเจ คือวิหารท้าวจตุโลกบาล เทพราชารักษาสวรรค์ทั้ง 4 ทิศ

 

วิหารท้าวจตุโลกบาล


อาคารซ้ายมือติดกับวิหารเซียนฟ้า คือที่ประทับของ ท้าวธตรฐ (ถี่กกเทียงอ้วง) เทพราชารักษาสวรรค์ทิศตะวันออก ธาตุดิน เขียนด้วยศิลปะจีน โทนสีเขียว น้ำตาล ส่วนอาคารขวามือของวิหาร คือที่ประทับของ ท้าวเวสสุวัณณ หรือท้าวกุเวร (ตอบุ๋งเทียงอ้วง) เทพราชารักษาสวรรค์ทิศเหนือ ธาตุน้ำ โทนเขียนด้วยศิลปะจีนโทนสี......... ส่วนอาคารเล็กอีก 2 หลังที่อยู่ขนาบข้างวิหารพระโพธิสัตว์ชั้นใน อาคารซ้ายมือคือที่ประทับของ ท้าววิรุฬปักข์ (ก่วงมักเทียงอ้วง) เทพราชารักษาประตูสวรรค์ทิศตะวันตก ธาตุโลหะ เขียนด้วยศิลปะจีนโทนสี..................... อาคารขวามือคือที่ประทับของ ท้าววิรุฬหก (เจงเชียงเทียงอ้วง) เทพราชาสวรรค์ด้านทิศใต้ มือถือกระบี่ ธาตุไฟ เขียนด้วยศิลปะจีนโทนสีแดง

 

อาคารวิหารเซียนฟ้า


เป็นอาคารใหญ่ด้านหน้าสุดภายในโรงเจ แสดงภาพของสรวงสวรรค์ซึ่งเป็นที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งแต่ละองค์ล้วนมีเรื่องราวการได้ประกอบกรรมดี คุณธรรมอันใหญ่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จึงได้ส่งผลให้ได้มาเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ ภายนอกด้านหน้าวิหารประดิษฐานประติมากรรมโลหะเทพผู้พิทักษ์สรวงสวรรค์ 2 องค์ ทางซ้ายมือคือ เทพเอ้อหลาง (เทพสามตา) เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ท่านเพียรทำความดีนับแสนครั้งและยังช่วยบิดาหาญสู้พญามังกรเพื่อช่วยราษฎร ทางขวามือคือ เทพนาจา เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ท่านแล่เนื้อขูดกระดูกตนเองให้พญามังกรเพื่อแทนคุณบิดา ด้วยคุณธรรมความกตัญญู กตเวทิตาต่อบิดาที่เลี้ยงดูมาด้วยชีวิตของตนเอง เมื่อสิ้นชีพลง ทั้ง 2 ท่านจึงอุบัติเป็นเทพบนสรวงสวรรค์

ภายในวิหารเซียนฟ้าเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าสำคัญ 3 องค์

เง็กเซียนฮ่องเต้
เทพราชาแห่งสรวงสวรรค์ เป็นตัวแทนของความสมบูรณ์ด้วยยศ ศักดิ์ เกียรติ อำนาจ ประทับเป็นองค์ประธานตรงกลาง สร้างโดยศิลปะจากจีนผสมผสานกับธิเบต


เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี้ย
เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย เงินทองโชคลาภ ประทับบนหลังเสือ  ท่านเป็นผู้ดูแลคลังสมบัติของ ๓ โลก มือซ้ายถือดาบ มือขวาถือก้อนเงินก้อนทอง  คล้องแขนด้วยหอยมุก 


ภายในวิหารเซียนฟ้า ยังมีประตูสวรรค์ 3 ประตู เป็นทางออกของเทวดาที่กำลังจะจุติไปสู่ภพภูมิใหม่ เทวดาที่มีบุญต่างกันจะออกประตูสวรรค์แต่ละช่องไม่เหมือนกัน ประตูทางทิศตะวันออก เทวดาเมื่อหมดบุญออกประตูทางทิศตะวันออกก็จะไปเกิดเป็นเทวดาชั้นสูงขึ้นไป



ประตูช่องบันไดมังกร
ถ้าออกช่องนี้จะได้ไปเกิดเป็นเจ้าเมืองเจ้าครองนคร หรือเป็นฮ่องเต้เป็นพระราชา ถ้าลงบันไดแก้วบันไดทองจะได้เกิดเป็นเสนาบดี เป็นอาจารย์ เป็นผู้มีสติปัญญา ช่องสุดท้ายคือ ประตูทางทิศตะวันตก หรือช่องทิ้งขยะ ช่องนี้ถ้าเทวดาหมดบุญตกสวรรค์จะถูกผลักให้ลงประตูสวรรค์ทางทิศตะวันตกไปเกิดในนรก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจแห่งกฏของกรรม ซึ่งเป็นสัจธรรมที่สัตว์ทั้งปวงหรือแม้แต่เทพเทวดาก็ไม่อาจหลีกหนีกฏของกรรมได้พ้น


ภาจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเซียนฟ้า
มีภาพเขียนศิลปะจีน และธิเบตที่งดงามเขียนโดยช่างชาวจีนและธิเบต เป็นภาพของ 8 เซียน และเทพบนสวรรค์ ตามคติความเชื่อของชาวจีน ภาพบนผนังด้านตะวันออก เป็นภาพเง็กเซียนฮ่องเต้ประธานแห่งสรวงสวรรค์ ถัดลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดเทวดาบนสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นท้าวเวสสุวรรณ กลางวิหารเซียนฟ้ามีเสาขนาดใหญ่.....ต้น ประกอบไปด้วยเสามังกร กับ เสาหงส์ เสาริมซ้ายขวาสี่ต้นจะเป็นหงส์แบบลวดลายไทยละเอียด มังกรไทยมีลวดลายกนก เสากลางสี่ต้นจะเป็นมังกรจีน หงส์จีนหรือนกสวรรค์ ดอกไม้ของจีนคือดอกโบตั๋น และดอกพุดตาลดอกไม้ของไทย และแสดงภาพเขียนและประติมากรรมนูนต่ำฝีมือช่างธิเบต ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์มงคลทั้ง 8 ของทิเบต คือ ฉัตรสีขาว ปลาคู่สีทอง แจกันแห่งโภคทรัพย์สีทอง ดอกบัว หอยสังข์ลายวนขวา เงื่อนมงคล ธงแห่งชัยชนะ และกงล้อหรือธรรมจักร ที่หัวเสาแกะเป็นบัว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ มีรูปนกมงคล และค้างคาว ซึ่งหมายถึงอายุยืน เพื่อให้ผู้ที่มากราบไหว้ได้รับพรและความเป็นมงคลต่าง ๆ อย่างครบถ้วน


ระเบียงทางเดิน
ระเบียงทางเดินจากวิหารเซียนฟ้าไปยังอาคารตำหนักพระมหาโพธิสัตว์ ที่เสาระเบียงแต่ละต้นแสดงปริศนาธรรมของบัวสี่เหล่าซึ่งมีความหมายว่า...........................


พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระกวนอิมปางสหัสสหัตถ์ สหัสสเนตร (พันมือ) เป็นองค์ประธานอยู่บนแท่นประทับใหญ่กลางวิหาร มีพุทธลักษณะงดงามอิ่มเอิบ สงบเย็น มีความสูง.........ฟุต หล่อด้วย............เมื่อปี พ.ศ...............โดยหลวงปู่ได้มอบโจทย์ให้ช่างไทยผู้ปั้นพระประธานวัดอ้อน้อย ขึ้นแบบ และแก้ไขหลายครั้งจนได้เทวลักษณะที่งดงาม สมบูรณ์ พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้เคารพนับถือมากที่สุด เพราะเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ด้วยพระมหากรุณาอันกว้างใหญ่ไพศาลในอันที่จะโปรดสัตว์โลกที่ได้รับความทุกข์ให้พ้นจากทุกข์ พระนามของพระองค์ อวโลกิเตศวร นั้นหมายถึง "พระโพธิสัตว์ที่คอยสดับตรับฟังเสียงความทุกข์ของโลก" ส่วนปางพันมือนั้นมีที่มาในพระสูตรว่า เมื่อครั้งที่พระธิดาเมี่ยวซันสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ ได้สละมือของท่านเพื่อช่วยพระบิดาซึ่งป่วยเป็นโรคร้ายไม่มีทางรักษาอันเนื่องมาจากกรรม ด้วยความกตัญญูทำให้เกิดเป็นมือ 1,000 มือ และมีดวงตากลางพระหัตถ์ ทรงซึ่งอาวุธและของวิเศษต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งมงคลเพื่อช่วยเหลือปลดเปลื้องความทุกข์ของสรรพสัตว์ ทรงมีพระปณิธานว่า ตราบใดยังมีสรรพสัตว์ตกทุกข์ได้ยากอยู่ จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ


พระศรีอาริยเมตไตรย์มหาโพธิสัตว์



พุทธลักษณะสำคัญของพระศรีอริยเมตไตรย์คือ เป็นรูปพระอ้วนท้องพลุ้ยนั่งหัวเราะ  คนไทยเราเรียกกันว่า พระสังกัจจายน์   หรือหลวงพ่อผาสุก  ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต  มหาปณิธานของพระองค์ท่านคือ  เมื่อรู้แล้วจักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย  เมื่อพ้นทุกข์แล้วจะช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย  เมื่อข้ามโอฆะแล้ว  จะช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย  เมื่อได้พุทธภูมิแล้วจะช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิด้วย
ในชั้นแรกหลวงปู่พุทธะอิสระได้มอบหมายให้ช่างไทยเป็นผู้ปั้นองค์หลวงพ่อผาสุก  โดยกำหนดให้แสดงถึงพุทธลักษณะสำคัญคือ พุงป่อง สะดือหงาย  นั่งยิ้มบนดอกบัว แต่ก็พบว่าแบบต่าง ๆ ที่ช่างทำมานั้นใช้ไม่ได้ แม้แก้ไขไปหลายครั้งแต่ดูอย่างไรก็ไม่สามารถสัมผัสถึงความสุขสมบูรณ์อย่างแท้จริงได้   ท่านจึงลงมือปั้นเอง  ท่านเล่าว่าท่านจะรู้สึกเป็นสุขทุกครั้งในการปั้น เมื่อปั้นส่วนท้องที่พุงป่องกลมก็จะนึกถึงความสุขที่ได้เอาหน้าไปแนบท้องของหลวงพ่อชุ้น(พระธรรมเสนานี)วัดวังตะกู แล้วถามว่าจะคลอดหรือยัง  หลวงพ่อจะหัวเราะชอบใจ  ส่วนที่ต้อง สะดือหงาย นั้นเป็นเคล็ดสำคัญที่มีความหมายว่าเงินจะขังอยู่ในสะดือที่หงายไม่หลุดล่วงหล่นหายลาภสักการะจะได้ขังไว้ได้  ที่มือข้างซ้ายมีกำไลหัวมังกรกินหางมังกรคล้องไว้ซึ่งมีความหมายว่ากินไม่หมด มีแต่กำไรมีเงินทองไหลออกมาจากถุง  มือข้างขวาจะถือลูกประคำชึ่งมีความหมายแห่งสติปัญญา การศึกษา 
ท่านมีวิมานไม้โสนมีกลิ่นที่หอมเหมือนดอกโสนในสวรรค์ชั้นกามาวจร  ซึ่งเป็นผลบุญที่ท่านได้ทำไว้ในครั้งอดีตกาล ในสมัยที่ท่านเกิดเป็นเด็กเลี้ยงควาย  เดินไปเลี้ยงควายผ่านไปพบพระปัจเจกพุทธเจ้านั่งฉันอาหารอยู่ริมสระน้ำที่มีแดดส่องเกิดความรู้สึกสงสาร  จึงไปหักต้นโสนมาทำเป็นเสา  4  ต้น แล้วเอาผ้าที่ใช้ผูกชายพกของตัวเองไปขึงกันแดดให้แล้วเฝ้าปฏิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกวัน  ด้วยผลบุญจึงได้เกิดเป็นเทวดาและมีวิมานดังกล่าว



ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอาคาร



แสดงเรื่องราวจากพระสูตรมหากรุณาสูตร ซึ่งเล่าเรื่องมหากรุณาของพระโพธิสัตว์กวนอิมปางต่าง ๆ ที่เสด็จไปช่วยเหลือสรรพสัตว์ เขียนโดย คุณกาพย์แก้ว สุวรรณกูฏ ช่างไทยผู้เขียนจิตรกรรมในอุโบสถวัดอ้อน้อย เป็นงานศิลปะแบบจีนที่มีความงดงาม และได้ศึกษาค้นคว้ารายละเอียดต่าง ๆ อย่างดี

บริเวณผนังอาคารโดยรอบแสดงภาพสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
ทางทิศตะวันออก เขียนภาพสวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งเป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์   
ผนังอาคารด้านทิศเหนือเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ผนังอาคารด้านทิศใต้ แสดงภาพสวรรค์ชั้น ยามา นิมานรดี และปรนิมานรดี ซึ่งเป็นที่ประทับของพญามาร
ผนังอาคารทิศตะวันตกด้านหลังพระประธาน แสดงภาพ........



บนเพดานหอพระโพธิสัตว์



เป็นภาพเขียนรูปมือพระโพธิสัตว์กวนอิมทรงศาสตราวุธและของมงคลวิเศษต่าง ๆ  ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงปณิธานและบารมีอันสูงส่งยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่สามารถโอบอุ้ม ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ โดยการประพฤติคุณธรรมอันยากยิ่งนานานับประการอย่างไม่ย่อท้อ 
พระโพธิสัตว์ จึงเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาชีวิต  คือมนุษย์หรือสัตว์โลกที่มีชีวิตอย่างมีพัฒนาการ มีความมุ่งมั่นศรัทธาฝึกหัดปฏิบัติในวิถีโพธิธรรมทั้ง 10 ประการ จนสามารถพัฒนาตนเองจากสามัญสัตว์เป็นโพธิสัตว์ผู้สามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์  นับเป็นวิถีการปฏิบัติบำเพ็ญบารมีอันยาวไกลและยากยิ่งเหนือกว่าเทพเทวดาใด ๆ   

สิ่งนี้คือแก่นธรรมซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างโรงเจหอคุณธรรมฟ้าแห่งนี้  รวมถึงศาสนสถานอื่น ๆ ภายในวัดอ้อน้อย  เพื่อให้ศิษย์และอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นผู้มีศรัทธาที่จะฝึกหัดอบรมพัฒนานำพาชีวิตของตนเองให้มีคุณธรรมสูงยิ่งขึ้น จากสามัญสัตว์ไปสู่อริยชน หรือโพธิชน จนเป็นผู้ที่มีชีวิตอย่างมีพัฒนาการสูงสุด คือถึงการดับแห่งทุกข์ได้   

 

โรงเจหอคุณธรรมฟ้า

ขอเชิญท่านสาธุชนร่วมทำบุญเพื่อสร้างโรงเจหอคุณธรรมฟ้า วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

โดยท่านสามารถโอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี มูลนิธิธรรมอิสระ ธ.นครหลวงไทย สาขากำแพงแสน บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 358-2-21236-5

j_in

 watonoi_in

 

พระดำรัสสมเด็จพระสังฆราชฯ ในโอกาสเสด็จเยี่ยมวัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ)

 

ความเป็นมา

วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) เป็นวัดในโครงการเฉลิมพระเกียรต ิในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 125/1 หมู่ที่ 17 ถนนมาลัยแมน(กม. 17) ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

frontdoor 

 วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 2532 โดยคุณโยมทองห่อ วิสุทธิผล ผู้มีจิตศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ได้บริจาคเงินซื้อที่ดินเริ่มแรก จำนวน 9 ไร่ พร้อมกันนี้ก็ยังได้บริจาคเงินกองทุนในเบื้องต้น สำหรับการก่อสร้างวัด พร้อมได้จัดการขออนุญาตสร้างวัด ต่อกรมศาสนา

 ubosotlarge

การพัฒนาวัด

ที่ดินเดิมเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังสูงท่วมศีรษะ และ มีที่ดินดอนอยู่เพียง 1 ไร่เศษ ซึ่งได้เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อต้นปี 2533 โดยหลวงปู่พุทธะอิสระได้เป็นผู้นำ พุฒนาบุกเบิกสร้างวัดขึ้น โดยวางรูปแบบตามตำราโบราณ และ ตามหลักพิชัยณรงค์สงคราม การพัฒนาและจัดสร้างทุกขั้นตอนได้ใช้แรงงานของพระภิกษุและสามเณรภายในวัด เป็นส่วนใหญ่ ในระยะเริ่มแรกมีพระภิกษุสองรูปและสามเณรสามรูป ทั้งได้ช่วยกันปลูกสร้างกุฏิ ปลูกต้นไม้

ปัจจุบันเนื้อที่ของวัดได้ขยายเพิ่มขึ้นรวมจำนวนแปดสิบไร่ ซึ่งทั้งหมดนี้บรรดาสาธุชน ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา จัดซื้อที่ดินบริจาค จนถึงปัจจุบันรวมการใช้จ่ายปัจจัย ในการพัฒนาวัดเป็นเงินประมาณ แปดสิบล้านบาทเศษ ทั้งนี้ทางวัดมิได้จัดให้มีการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น รวมเวลาการพัฒนา ทั้งหมดประมาณเก้าปี

 

สถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถ รูปทรงจตุรมุขงดงามมีคูน้ำล้อมรอบ, ศาลาเอนกประสงค์ ใช้เป็นที่ทำกิจกรรมในพระศาสนา, หอพระกรรมฐาน ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์, "ต้นศรีมหาโพธิ์" ซึ่งได้ปลูกขึ้นที่หน้าหอพระกรรมฐานโดยหลวงปู่พุทธะอิสระได้บรรจุอัฐิฐาตุ ของหลวงปู่ทวดไว้ที่โคนต้น, กุฏิสงฆ์, พร้อมกับมีการปลูกต้นร่มรื่นงดงาม และจัดแบ่งเนื้อที่ให้มี "สวนเกษตรเพื่อชีวิต" คือนาข้าว แปลงผักสวนครัว สวนไม้ผลเพื่อใช้ในโรงทานและบริจาคผู้ยากไร้

 ubosotnight

พระอุโบสถ

  Lan_poh1

lan_poh2

ลานโพธิ์

 ปฏิปทาของพระสงฆ์ในอาราม

สำหรับความเป็นอยู่ของพระภิกษุและสามเณรภายในวัด ใช้หลักการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีกิจน้อยใหญ่จะขอฉันทานุมัติ และร่วมกันจัดกิจกรรมนั้นๆ โดยพร้อมเพรียงกัน คณะสงฆ์ได้กำหนดข้อปฏิบัติเรื่องความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ในอารามนี้ว่า พระสงฆ์สามารถจะมีปัจจัยติดตัวได้ไม่เกิน 100 บาท เมื่อมีเอกลาภเกิดขึ้นทุกสิ่งจะสละให้เป็นกลาง พระภิกษุและสามเณรจะมีของใช้ได้ไม่เกินหนึ่งชิ้นถ้ามีเกินกว่านี้ให้สละให้ กับกองคลัง เมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้ของสิ่งนั้นจะขอเบิกใช้ได้จาก

จารึกเหตุการณ์สำคัญ

สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญานสังวร สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย ในพิธีพุทธาภิเษกในงานผูกพัทธสีมาปิดทองลูกนิมิตร วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2542 เวลา 17.00 น. โดยก่อนหน้านี้ ได้ทรงเสด็จเยี่ยมชมวัดอ้อน้อย เป็นการส่วนพระองค์ถึง 2 ครั้ง และ ได้รับสั่งว่าวัดอุโบสถของวัดเป็นอุโบสถที่มีความงดงามไม่มีใครเหมือน

วีดีโอ แนะนำวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) และหลวงปู่พุทธะอิสระ

 

วีดีโอ "หลวงปู่พุทธะอิสระคุรุผู้ยิ่งใหญ่"

 

วีดีโอ "ประวัติหลวงปู่พุทธะอิสระ และวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสะระ)"

 

 ท่านเป็นพระที่มี ปฏิปทางbudhaisara2ดงาม เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูงสำหรับลูกหลานศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั่วไป คำสอนของท่านเป็นธรรมะที่ง่าย ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงด้วยวิธีสอนที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้ฟังธรรมเกิดความเห็นที่ถูกตรงและกระจ่างชัด ท่านจึงเป็น "ปูชนียาจารย์" ที่มหาชนเคารพศรัทธายิ่ง

มีผู้ถามอยู่เสมอว่า "พุทธะอิสระ" แปลว่าอะไร หลวงปู่ได้ให้ความหมายว่า "พุทธะ" แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ย่อมมีเสรีภาพอิสระต่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ไม่ทำอารมณ์ให้เป็นอะไร เพราะเรามีธรรมะในหัวใจ ย่อมอิสระกับทุกเรื่องที่พบพานเจอะเจอและเห็น

มีคนเคยมาถามหลวงปู่เสมอๆ ว่า "ทำไมหลวงปู่ จึงยังดูหนุ่ม ยังไม่เห็นแก่เลย แต่คนเรียก หลวงปู่" ท่านมักจะตอบตามภาษิตโบราณที่ว่า

"คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีล รวยทาน ใช่บ้านโต"

หลวงปู่สอนพระเณรในวัด ว่า ของทุกอย่างที่ชาวบ้านเขาถวาย ก็ให้ถือเป็นส่วนกลาง ให้ทุกคนใช้ด้วยความเคารพต่อผู้ให้ คือ ใช้อย่างทะนุถนอม และใช้อย่างประหยัด

ท่านสอนให้ทุกคนยึด หลักในการดำรงชีวิตว่า "ทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้ และทำตนให้ผู้อื่นพึ่งได้ด้วย" และให้ปฏิบัติธรรมในระหว่างปฏิบัติงาน โครงการต่างๆของท่านจึงมีมากมาย และหลวงปู่ยังเป็นผู้นำในการทำกิจการน้อยใหญ่ นานัปการอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ทั้งหมดนี้ท่านทำเพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อศิษยานุศิษย์และเพื่อลูกหลานของท่าน ให้เป็นผู้ดำเนินชีวิตอย่างคุ้มค่าสมกับที่เกิดมาในบวรพุทธศาสนา...

หลวงปู่พุทธะอิสระ หรือ พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม(ฉายาปัจจุบัน) ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด แต่บรรพบุรุษตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดนครปฐม โยมพ่อชื่อนายชมภู โยมแม่ชื่อนางอัมพร นามสกุล ทองประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๙ การศึกษาเล่าเรียนทางโลก ไม่จบชั้นประถมปีที่ ๔ ส่วนการศึกษาเล่าเรียนทางธรรมนั้นจบนักธรรมเอก

ท่านเริ่มบวชเรียน ครั้งแรกเมื่ออายุ ๒๐ ปี โดยบวชที่วัดคลองเตยใน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ โดยมีพระครูธีราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดคลองเตยใน เป็นพระอุปัชฌาย์

bindhabart01

บวชได้เพียงพรรษาเดียว ก็สึกออกไปเป็นทหาร ๒ ปี หลังเสร็จภารกิจทางทหาร ก็กลับมาบวชใหม่ที่วัดเดิม คือวัดคลองเตยใน เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๒๖ โดยมีพระครูธีราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดคลองเตยใน เป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม และพระครูวรกิจวิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดภาษี เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวินัยธรสมพงษ์ วัดคลองเตยใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมธีโร" แปลว่า "ปราชญ์ทางธรรม

ช่วงที่อยู่วัดคลองเตยในมีผู้คนมากมายมาฟังท่านแสดงธรรม ท่านอยู่วัดคลองเตยในได้ประมาณ ๖ ปี ก็มาสร้างวัดอ้อน้อย ที่ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในปี ๒๕๓๒ โดยอุบาสิกาทองห่อ วิสุทธิผล เป็นผู้บริจาคที่ดินผืนนี้ให้ สร้างวัดเสร็จเป็นรูปเป็นร่างภายใน ๓ ปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ยกฐานะขึ้นเป็นวัด ชื่อว่า "วัดอ้อน้อย" (เดิมได้ทำเรื่องขอใช้ชื่อวัดว่า "วัดธรรมอิสระ" แต่ก็มีเหตุขัดข้องบางประการ) เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยท่านก็ให้พระลูกศิษย์ดูแลวัด ส่วนท่านก็ออกธุดงค์เพื่อฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเป็นเวลากว่า ๕ ปี

หลวงปู่พุทธะอิสระกลับ มาปกครองดูแลวัดอ้อน้อยอีกครั้ง เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๘ ท่านได้ทำนุบำรุงวัดจนเจริญเรื่อยมา และเมื่อพระอุโบสถสร้างเสร็จเรียบร้อย จึงได้จัดพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย ในพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของพระอุโบสถ

 

ต่อมาในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง แทนเจ้าคณะเก่าที่มรณภาพไป หลังจากนั้นเมื่อในวันที่ ๑๖ ก.ย.๒๕๔๔ หลวงปู่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากทุกตำแหน่งอย่างเป็นทางการ กับเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม โดยหลวงปู่กล่าวว่า "ที่ผ่านมามันก็เป็นความรู้สึกค้างคาในใจว่า เราทำงานไม่ได้หวังที่จะได้อะไร แต่เราทำงานเพื่อเป็นพุทธบูชา ด้วยความศรัทธาในพระธรรมวินัย และอุดมการณ์ของศาสนา" ในปัจจุบันนี้หลวงปู่พุทธะอิสระ ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม

luangpoo

กิจการการงานที่ผ่านมา

ตั้งแต่บวชอยู่ที่วัด คลองเตยใน ท่านก็แสดงธรรมให้ญาติโยมที่มาทำบุญได้ฟังธรรมจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้คน รวมทั้งได้จัดอุปสมบทพระเณรภาคฤดูร้อนขึ้นด้วย

เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาส วัดอ้อน้อย และเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง อ. กำแพงแสน จ. นครปฐม ท่านได้ดำริและริเริ่มจัดทำโครงการต่างๆ มากมาย และบางงานก็ยังสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันดังนี้

bd2๑. การแสดงธรรม ท่านได้ไปแสดงธรรมโปรดญาติโยมและพุทธศาสนิกชน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ สถานศึกษา โรงพยาบาล วัด มากกว่า ๑๐๐ แห่ง รวมทั้งการแสดงธรรมทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนเป็นประจำที่วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ)

๒. โครงการเผยแผ่ธรรม ด้วยหนังสือธรรมะและเทปเสียง ซึ่งประกอบด้วยหนังสือธรรมะประมาณ ๔๐ เรื่อง และเทปเสียงประมาณมากกว่า ๕๐๐ กว่าเรื่องแล้ว

๓. โครงการเผยแผ่ธรรม ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดทำเวปไซต์ วัดอ้อน้อย www.onoi.org เพื่อนำเสนอธรรมะและกิจกรรมทางพุทธศาสนาของวัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ)

๔. โครงการเผยแผ่ธรรม ทางหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา รายเดือน เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และเพื่อเผยแพร่ผลงานของพระสงฆ์ดีๆ ที่ยังมีอีกมากมายในสังคม โดยส่วนหนึ่งได้จัดส่งให้กับวัด สถานศึกษา ห้องสมุด ทั่วประเทศกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

๕. โครงการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ โดยท่านได้รับเลือกให้เป็นเลขานุการของศูนย์พระวิปัสสนาจารย์ จังหวัดนครปฐม ทำหน้าที่ดำเนินการจัดฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ของจังหวัดนครปฐม ซึ่งท่านได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจและกำลังทรัพย์ให้กับงานนี้ เพราะเป็นงานที่ท่านรักมากที่สุดในชีวิต (ปัจจุบันท่านได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวนี้แล้ว)

๖. โครงการศากยบุตรกู้วิกฤต เนื่องจากท่านเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจของบ้านเมืองทำให้ผู้คนหมดหวัง หมดที่พึ่ง ดังนั้นท่านจึงเปิดรับคนเข้ามาบวชในโครงการศากยบุตรกู้วิกฤต และอบรมให้มีความรู้มีวิชาชีพ จากนั้นจึงส่งไปเผยแผ่ธรรมและให้ความรู้แก่ประชาชนในชนบท

 44254912195๗. โครงการบรรพฃาและอุปสมบทพระภิกษุ สามเณร ภาคฤดูร้อน ซึ่งท่านเคยทำมาตั้งแต่อยู่วัดคลองเตยใน ท่านก็สานต่อโครงการนี้เรื่อยมา โดยผู้เข้าร่วมโครงการไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นbuad1

๘. โครงการธรรมศึกษาในโรงเรียน ได้ดำเนินการร่วมกับศึกษาธิการอำเภอกำแพงแสน โดยจัดส่งพระภิกษุไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ สนับสนุนการสอบธรรมศึกษาสนามหลวง และจัดตั้งกองทุนค่าพาหนะแก่พระสงฆ์ที่ไปสอน

๙. โครงการค่ายจริยธรรม ท่านได้ให้พระเณรในวัดอ้อน้อย จัดค่ายอบรมจริยธรรมคุณธรรม ให้กับนักเรียนนักศึกษา ในช่วงปิดเทอม มีผู้มาเข้าค่ายปีละ ๓,๐๐๐ กว่าคน

๑๐. โครงการมอบทุนการศึกษา ท่านได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโครงการธรรมศึกษา นักเรียนที่ยากไร้ รวมทั้งพระนักศึกษาในสถาบันการศึกษาของสงฆ์ เป็นประจำทุกปี

๑๑. โครงการกลุ่มออมทรัพย์วัดอ้อน้อย เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนได้เรียนรู้อาชีพ มีทุนประกอบอาชีพพึ่งตนเองได้ในท้องถิ่น

๑๒. โครงการแจกมหาทานแก่ครอบครัวผู้ยากไร้ โดยจัดมอบข้าวสาร อาหารแห้ว ยารักษาโรค และเงินจำนวนหนึ่ง เนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น วันสำคัญทางศาสนา หรือเมื่อประชาชนประสบปัญหา เช่น อุทกภัย

 ๑๓. กองทุนดูแลพระสงฆ์อาพาธจังหวัดนครปฐม โดยบริจาคเงินกองทุนเริ่มแรก child13๕๐๐,๐๐๐ บาท

๑๔. โครงการอนุรักษ์อุทยานธรรมชาติและศาสนา จัดให้มีการปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง

๑๕. โครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนธรรมอิสระ ด้วยเล็งเห็นว่ายังมีเด็กที่เรียนดีแต่ขาดโอกาสอีกมากมายท่านจึงได้ตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชนธรรมอิสระขึ้นschool12 เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กยากจนได้รับการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ทุกคนพึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้

๑๖. โครงการสถานบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพด้วยธรรมชาติ และศูนย์พัฒนาจิตวิญญาณเชิงท่องเที่ยว เพื่อให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย โดยใช้วิธีธรรมชาติบำบัด และเป็นสถานที่พักผ่อน เรียนรู้ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่น และเรียนรู้การฝึกจิตวิญญาณของต้นด้วยการปฏิบัติธรรม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาสถานที่ ที่อำเภอทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี

argarnjit1

argarnjit2

lezoo-01

tppmap
onoi-map

1. ทำบุญกับทางวัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ)

 ชื่อบัญชี วัดอ้อน้อยธรรมอิสระ เลขที่บัญชี 345-2-55108-2

 ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) สาขากำแพงแสน บัญชีออมทรัพย์

2. สั่งซื้อผลิตภัณฑ์หอมจัง

 ค่าสินค้าหอมจัง ธนาคารไทยพาณิชย์   ชื่อบัญชีบจก.พฤกชเวช   บัญชีกระแสรายวัน  เลขที่บัญชี 468-0-37830-6

 ค่าสินค้าหอมจังพร้อมจัดส่งทางไปรษณีย์ ธนาคารกสิกรไทย  ชื่อบัญชีบจก.พฤกชเวช บัญชีออมทรัพย์  เลขที่บัญชี 004-1-45058-4

3. สั่งซื้อข้าวสารดี

 ค่าข้าวสาร ธนาคารธนชาติ ชื่อบัญชีโรงสีข้าว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 358-6-04369-7

 ค่าข้าวสาร ธนาคารธนชาติ ชื่อบัญชีโรงสีข้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 358-3-01874-0

4. สั่งซื้อน้ำดื่มน้ำใจและเครื่องดื่มสาย

 ค่าน้ำดื่มน้ำใจ-เครื่องดื่มสบาย ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี บริษัททำบุญ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 839-2-08315-5

 ค่าน้ำดื่มน้ำใจ-เครื่องดื่มสบาย ธนาคารธนชาติ ชื่อบัญชี บริษัททำบุญ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 358-3-01875-8