พิจารณาโครงกระดูก
ในท่าการยืน
(๑๕–๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒)

.....ความหมายของมหาสติปัฏฐานนั้น ในรูปแบบของมัน เป็นสามัญธรรม เป็นสาธรณธรรมนั่นก็คือผู้ที่รู้เรื่องของกาย หรือผู้ที่สามารถจะจับจุดในบัพพะใด บัพพะหนึ่งได้ ก็สามารถจะพิจารณาได้ทั้งกายด้วย เวทนาก็ด้วย จิตด้วย ธรรมก็ด้วย เสร็จในที นั่นก็คือ จิตดวงหนึ่งปรากฏขึ้น อาจจะพิจารณานำจิตดวงนั้นมาบรรจุใส่เวทนา หรือว่ามีเวทนาเกิดขึ้นกับจิตดวงที่ปรากฏ ก็จะพิจารณาเวทนานั้นให้ดับไป โดยที่มีสติตั้งมั่นพิจารณาเวทนาในเวทนานั้น เมื่อจิตดวงนั้นตายลงและจิตดวงใหม่อุบัติขึ้น ก็อาจจะปรากฏธรรม ก็จะพิจารณาธรรมที่อยู่ในจิตนั้น เรียกว่าพิจารณาธรรมในธรรม แล้วธรรมนั้นดับไป หรือไม่เวทนาดับ ธรรมดับ มีจิตดวงใหม่อุบัติขึ้น เกิดกระบวนการปรุงแต่งมีการกระทบสัมผัสรับรู้แล้วก็ผูกพันธ์ กลายเป็นข้อตันหาอุปาทาน เป็นข้อยึดถือ แสดงว่ากระบวนการอันนั้นสติขาดตอน สติขาด หรือไม่มี ไม่ปรากฏ การพิจารณานั้นก็จะสูญสลายหายไป เพราะฉะนั้นกระบวนการพิจารณาในมหาสติปัฏฐานจริงๆแล้ว ถึงแม้ว่า พระพุทธเจ้าหรือพระศาสดาจะสอนให้เราพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งในบัพพะใดบัพพะหนึ่งก็ตามที แต่พระองค์ทรงเจตนาทำอย่างนั้น หรือบอกเราอย่างนั้น ก็เพื่อให้เราทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้เสียก่อน เมื่อเราได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนกับท่านรู้ว่าการเดินทางมาสถานที่นี้มาอย่างไร ท่านเคยมาครั้งหนึ่งแล้ว ท่านจะเดินก็ได้ จะนั่งรถก็ได้ จะนั่งเรือก็ได้ถ้ามันมีทางให้ท่านเดิน มีทางให้มา มาได้ทุกทาง แต่ถ้าท่านไม่รู้ว่าสถานที่นี้อยู่ทิศใด ตำบลใด แห่งหนใด ถึงมีทางรถก็ตาม ทางเรือก็ตาม ทางเครื่องบินก็ตาม ท่านก็มาไม่ถูกอยู่ดี

.....เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกให้เราทำอย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นคือ ทำให้มันเกิดสติขึ้นมาเสียก่อน ควบคุมสติได้ ครอบงำสติได้ รักษาสติได้ ปรากฏสติได้ เพิ่มพูนสติได้ มีสติอยู่ในตัวได้ แล้วจึงนำเอาสติที่มีไปพิจารณาสิ่งอื่น เรื่องอื่น ชีวิตอื่น ขั้นตอนอื่น ธรรมอื่น เวทนาอื่นอีกที สำคัญที่สุดที่เรากำลังนั่งหลังขดหลังแข็งทนทุกข์ทรมานกันอยู่ทุกวันนี้ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่มีเวทนาหรือไม่ มีธรรมหรือไม่ มีจิตหรือไม่ ปัญหามันอยู่ที่ว่ามีสติหรือไม่ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่ารู้หรือไม่ เข้าใจหรือไม่ รู้มากหรือไม่ รู้น้อยหรือไม่ ฉลาดหรือไม่ โง่หรือไม่ ทนได้หรือไม่ ทนไม่ได้หรือไม่ มาหรือไม่ ไม่มาหรือไม่ ไม่ได้อยู่ตรงนั้น ปัญหามันอยู่ที่ว่าท่านมีสติหรือไม่ แล้วสติที่มีมันเป็นสติที่ประกอบไปด้วยกุศลมูลจิตคือเป็นโสภณจิต เป็นมหาสติอันยิ่งที่ประกอบไปด้วยวิชชา ไม่ใช่สติที่นำเอาไปใช้เป็นอวิชชา ท่านมีสติฝ่ายกุศลหรือไม่

.....สรุปง่ายๆ ถ้ามีสติ ก็เหมือนกับบุรุษบุคคลที่งามสง่าชาญฉลาดและพลกำลังแข็งแรงแถมมีดาบอันศักดิ์สิทธิ์อยู่ในมืออีกต่างหาก ท่านก็สามารถฝ่าฟันเอาชนะทำร้ายทำลายศัตรูที่อยู่ข้างหน้าให้ดาวดิ้นสิ้นชีพไปได้ในพริบตา

.....เพราะฉะนั้นที่เรากำลังจะทำกันทุกวันนี้ก็เพื่อต้องการให้เกิดสติ แล้ววิธีที่หลวงปู่คิดแล้ว ทดลองแล้ว ทดสอบแล้ว และตรงที่สุด ถูกที่สุด น่าจะซื่อสัตย์ที่สุด เทียบเคียงกับสำนักทั้งหลายแล้ว มีผู้ที่เคยมาถามว่า การเจริญมหาสติไม่ประกอบด้วยองค์ภาวนา คำว่าองค์ภาวนาในที่นี้ ก็คือองค์ภาวนาที่ไม่ประกอบไปด้วยการท่องจำ หรือการท่องบ่น แต่เป็นองค์ภาวนาของพระพุทธะ คือทำให้มีไว้ในใจ นั่นหมายถึงตรงนั้น แต่องค์ภาวนาที่เขาถามนั้น คือองค์ภาวนาที่เราท่องจนเคยชินติดปากติดหู ติดใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นะ มะ พะ ธะ อะระหังสัมมา ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ อะไรก็แล้วแต่ ที่เราเรียกว่าองค์ภาวนา แต่จริงๆแล้วเดิมแท้เลยนี่ ถ้าท่านไปเปิดพระไตรปิฎก หรือเปิดตำราศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ เอาอย่างถ่องแท้อย่าเอารูปๆคลำๆ ถึงอ่านวันละหมื่นหน้า ถ้าไม่รู้หัวใจของพระศาสดา ล้านหน้าก็ไม่รู้สึกอะไร สำคัญว่าเรารู้จักหัวใจของจิตวิญญาณพระพุทธะพระศาสนาหรือเปล่า ถ้ารู้จักเข้าใจจริงๆครึ่งหน้าก็รู้สึกอะไรแล้ว ไม่จำเป็นต้องหมื่นหน้าร้อยหน้า

.....เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าพูดว่าภาวนาไม่ใช่หมายถึงท่องบ่น ไม่อย่างนั้นมันก็เหมือนกับศาสนาอื่นที่เขาทำกันสมัยก่อนเช่น โอม พระศิวะ โอมพระนารายณ์ อะไรอย่างนั้น ศาสนาอื่นเขามีมาก่อน พราหมณ์เขาทำมาก่อนเวลาบวงสรวงบูชาพระแม่กาลี พระแม่คงคา อะไรอย่างนี้เขาจะ โอม เขาจะทำมาก่อน พระพุทธเจ้ามองเห็นแล้วว่าอย่างดีที่สุดมันก็แค่ไปพรหมเท่านั้น และมันก็ไม่ใช่กุศลมูลจิต ไม่ใช่มหาสติอันเลิศที่สามารถจะมีวิชชาหรือสรรพวิทยาที่จะแก้ไขปัญหาการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ไม่ใช่หนทางที่ถูกตรงพระองค์ก็เลยไม่มีอย่างนั้นไง

.....เพราะฉะนั้นหลวงปู่จึงกล้าพูดและยืนยันใครๆ ที่รู้จริงเขาก็ต้องพูดกันว่า มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นมหาสติปัฏฐานสูตรที่ไม่มีสอนในศาสนาอื่น และถ้าเผอิญเรานำมาใช้ เอาศาสนาอื่นมาใช้กับมหาสติปัฏฐานสูตรมันก็จะเป็นการทำลายมหาสติปัฏฐานสูตร เพราะฉะนั้นตรงนี้เลยต้องเน้นไปว่า วิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ใช่ลัดที่สุด ง่ายที่สุด เร็วที่สุดและก็ดีที่สุด สำหรับสำนึกอย่างคนโง่อย่างหลวงปู่นี่ ได้บอกไปหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นการยืน โยกโคน พลัง มีความรู้สึกจับอยู่ที่โครงสร้างของกระดูกและเมื่อเช้านี้หลวงปู่ก็รับรู้ได้ว่าหลายท่านสงบมีสติตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเมื่อมีสติตั้งมั่นสงบถึงแม้มันจะเป็นวิธีแปลกใหม่ที่ท่านเขียนบรรยายมาในคำวิจารณ์นี้ก็ตามที ก็ยังถือว่า ประโยชน์อันใดที่เราต้องมาคำนึงว่า อาหารที่อยู่ข้างหน้ามันเป็นชนิดใดถ้ามันกินแล้วไม่ตายและแก้หิวได้ก็กินเถอะ ดีกว่าเราจะมานั่งรอให้มันหิวแล้วก็นั่งรออาหารที่ถูกใจ ซึ่งไม่แน่อาหารที่ถูกใจกินแล้วอาจตายก็ได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้ท่านหิวท่านต้องการ มีอาหารมาวางให้ ถึงมันจะไม่อร่อยถูกรส ถูกปากนัก แต่ถ้ากินแล้วมันแก้หิวก็ลองกินไปก่อน แล้วเผื่อว่ามันอาจจะถูกตรง ถูกต้อง ถูกใช่ ขึ้นมาบ้างก็ได้นะ

.....เพราะฉะนั้นสรุปก็คือเราต้องการสติ แล้ววิธีที่ทำให้เกิดสติก็อย่างที่ว่า เรามาเริ่มกันดีกว่า เอายืนก่อนก็ได้เพื่อความผ่อนคลาย

ยืนขึ้น ตอนนี้เราจะมาดูที่อริยาบทบรรพ บวก นวสีบรรพ แล้วก็สัมปชัญญะบรรพเข้าไปอยู่ในคำว่ากระดูกอย่างเดียว สำนึกแค่กระดูกเราทำได้ ๓ บัพพะแล้วล่ะ ทีนี้เราจะมาดูว่าเราจะทำได้แค่ไหน ก็เริ่มต้นจากการค่อยๆปรับโครงสร้างของกายก่อน กระดกปลายเท้า กระดูกส้นเท้า ดูว่าอะไรมันบิดมันเบี้ยวมันโยกมันโคนไปได้บ้างอย่างไร ดูให้แน่ใจว่ามันไม่มีปัญหา เรายืนแล้วเราหลับตาแล้วไม่โยกโคน ไม่โยกเอน ไม่ง่อนแง่น

.....เสร็จเรียบร้อยแล้วสายตาเริ่มทอดลงต่ำ ถ้าเรารู้ว่าเราไม่มีปัญหาอะไรแล้วร่างกายของเราพร้อมแล้วสมบูรณ์ผ่อนคลาย เบาสบายไปหมดทุกส่วนแล้ว

.....ค่อยๆหรี่ตาลง หรี่ตาลงแล้วก็จับความรู้สึกไปที่โครงกระดูกทันที ในขณะที่เราปรือตาลงแล้วสติยังอยู่กับตัวเรามันยังไม่หลุดไปไหน สติมันยังอยู่กับตัวเรามันยังไม่หลุดไปไหนเพราะฉะนั้นมันอยู่กับตัวเราไม่หลุดไปไหนก็จับไปที่โครงกระดูกทันที

.....เริ่มต้นจับตรงไหนดีก็เริ่มตรงกระหม่อมเลย หลวงปู่ไม่อยากใช้คำว่านึกแต่อยากใช้คำว่าสัมผัสถึงแม้ว่ามันจะมัวๆหมองๆไม่ชัดเจนอย่างไรเอาแค่สัมผัสให้ได้ สัมผัสให้ได้ว่ากะโหลกศรีษะเรามีรูปร่างอย่างไรตรงใจกลางประสาทหรือจอมประสาท กะโหลกด้านบนสุดนะ คล้ายบาตรก้นบาตรรูปร่างของมัน อย่าไปนึกถึงบาตรนะนึกถึงกะโหลก พอพูดว่าคล้ายบาตรเดี๋ยวไปจับที่บาตรทันที จิตนี้ไวมากสติทำหน้าที่เท่าทันกับจิต เสร็จเรียบร้อยแล้วจับไปที่ต้นคอด้านหลัง

.....จับขึ้นมาใหม่ที่กะโหลกศรีษะด้านหลัง เอาความรู้สึกนะ จอมประสาทด้านบนสุดที่กลางศรีษะ เราจะรู้สึกอุ่นตามไป ตามจุดประสาทที่บอก

• หน้าผาก
• กระดูกหน้าผาก
• โหนกคิ้วสองข้าง
• กระบอกตาสองข้าง
• โหนกแก้มสองข้าง
• ดั้งจมูก กระดูกจมูก เราจะเห็นชัดเลยนะ ว่ากระดูกจมูกจะมีรูกลวงโบ๋ จมูกยาวๆ กระดูกมันสั้นนิดเดียว เหมือนกับหางเต่า

• ทีนี้ก็มาที่ริมฝีปากด้านบนมีฟันติดอยู่ด้วย
• ริมฝีปากด้านล่างสัมผัสให้ทั่วนะ ถึงแม้จะไม่ชัดก็พยายามรับรู้ตามว่า ริมฝีปากมีลักษณะอย่างไรและมีฟันติดด้วยไม่ใช่เนื้อหนังนะ ทั้งหมดนี้เป็นกระดูก

• ปลายคาง
• กระดูกคาง
• กระดูกกรามทั้งสองข้างถ้ายังไม่ชัดลองอ้าปากดู โยกตามดูเราจะรู้สึกได้

• กลับไปที่กกหูด้านขวา เอาสติรู้สึกตัวไปจับที่กกหูด้านขวา ดูว่าหูข้างขวามีกระดูกไหม หูข้างขวาความจริงไม่มีกระดูก มีแต่กกหูมีกระดูกเป็นรูเข้าไปในศรีษะ เป็นรูกลวงเข้าไปในศรีษะมีเส้นประสาท ไม่ต้องสนใจเส้นประสาท ไม่สนใจหนังหรือเนื้อหรือพังผืด สนใจแต่กระดูกอย่างเดียวนะ

• ขึ้นไปบนศรีษะด้านขวาด้านข้างศรีษะด้านขวา ขึ้นไปที่จอมประสาท คือ กระหม่อม
• เสร็จแล้วก็ไหลย้อนลงมาด้านซ้ายข้างหูด้านซ้ายนะ
• กะโหลกหูด้านซ้าย
• รูหูด้านซ้าย
• เสร็จเรียบร้อยแล้วลงมาที่กรามใหม่
• กรามด้านซ้าย
• แล้วก็ปลายคาง
• ริมฝีปากด้านล่างพิจารณาตามนะ ที่มีฟันติดอยู่
• ริมฝีปากด้านบน โหนกแก้มกระดูกโหนกแก้มทั้งสองข้าง
• จมูก กระดูกจมูก
• กระบอกตาถ้าเราสัมผัสได้จะรู้สึกว่าถ้าเป็นกะโหลกจริงๆ ตามันจะกลวงโบ๋ ไม่เห็นเนื้อเห็นหนังอะไร
• โหนกคิ้วสองข้าง
• หน้าผาก
• จอมประสาท
• กะโหลกศรีษะด้านหลัง
• กระดูกคอด้านหลังที่ติดอยู่กับศรีษะไล่เรื่อยลงไป จนถึงหัวไหล่หรือบ่า
• บ่าทั้งสองข้าง
• ท่อนแขนด้านบนทั้งสองข้างกระดูกแขนท่อนบนทั้งสองข้าง
• ข้อศอกสองข้าง
• ท่อนแขนด้านล่างสองข้าง
• ฝามือกระดูกฝามือทั้งสองข้าง

• ทีนี้พิจารณากระดูกนิ้วหัวแม่โป้งมือด้านขวา
• กระดูกนิ้วชี้ด้านขวา
• กระดูกนิ้วกลางด้านขวา
• กระดูกนิ้วนางด้านขวา
• กระดูกนิ้วก้อยด้านขวา
• พิจารณาจับกระดูกนิ้วก้อยย้อยกลับขึ้นมาจนถึงฝามือกระดูกฝามือด้านขวา
• ข้อมือด้านขวา
• กระดูกปลายแขนด้านขวา
• ข้อศอกด้านขวา
• ต้นแขนด้านขวา
• กระดูหัวไหล่ด้านขวา
• ไหปลาร้าด้านขวา
• บ่าด้านขวา บ่านี้จะไม่มีกระดูกนะ มันจะผ่านไปมีแต่กระดูกหัวไหล่ เพราะบ่านี้มันจะเป็นแค่เส้นเอ็นและพังผืดหรือกล้ามเนื้อทั้งนั้น หลังด้านขวาที่ติดกับต้นคอเป็นแผ่นกระดูก
• กระดูกบ่าด้านซ้าย
• หัวไหล่ด้านซ้าย
• ต้นแขนด้ายซ้าย
• ข้อศอกด้านซ้าย
• ท่อนแขนช่วงล่างด้านซ้าย
• กระดูกข้อมือด้านซ้าย
• กระดูกฝามือด้านซ้าย
• กระดูกหัวแม่โป้งมือด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วชี้ด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วกลางด้านซ้าย ไล่ตามไปนะ
• กระดูกนิ้วนางด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วก้อยด้านซ้าย

..... ลืมตาได้ เป็นอย่างไรบ้างมีความคิดอะไรปรากฏไหม เงียบใช่ไหม มีบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ที่หลับตาแล้วยืนไม่อยู่นี่เพราะเราตั้งศูนย์แห่งกายไม่ดี เท้าเรายืนติดกันเกินไป เท้าเรายืนห่างกันอย่างน้อย คือหนึ่งคืบ หนึ่งหรือสองคืบ แล้วแต่โครงสร้างของกาย อย่างเช่นท่านที่หลับตาล้ม เพราะยืนเท้าชิดกัน หลับตาแล้วจะโยกอย่างนี้

..... ลองสำรวจดูความคิดตัวเองว่าสงบไหม ถ้าสงบนั่นแหละคือขบวนการของสติ คือขบวนการของสติที่กำลังจะเกิด ทีนี้เราจะทำให้สติมันละเอียดยิ่งกว่านี้อีก เรามาเริ่มกันใหม่อีกที ผ่อนคลาย ลองสำรวจดูโครงสร้างใหม่นะ ดูฝาเท้าสำคัญเอาที่คงที่ ว่าเรายืนแล้วหลับตาจะโยกจะโคนไหม การพิจารณานี้ปราชญ์ทั้งหลาย ท่านบอกว่าให้พิจารณาจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่างเพราะถ้า ถ้าดึงเอาเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบนนี่ เราอาจจะได้ของเสียจากไอดินเข้ามา พลังธาตุเหล่านั้นอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อกายตน ทำให้ตนต้องเจ็บป่วยเสียหายได้ เขาจึงบอกว่าเอาของเสียลงข้างล่างเป็นเรื่องดี ทีนี้เรามาเริ่มต้นนะ เมื่อขยับได้ที่ยืนด้วยท่าที่มั่นคงแล้ว

..... สูดลมหายใจเข้าลึกๆให้เต็มที่เลย กลืนน้ำลายไปอึกหนึ่งแล้วก็พ่นลมออกมายาวๆ แล้วก็สูดเข้าไปอีกสักทีหนึ่ง กลืนน้ำลายทีหนึ่งแล้วพ้นลมออกมายาวๆ เอาละได้ที่แล้ว คราวนี้จับไปที่กะโหลกศรีษะด้านบนเลย มีสติรับรู้นะ หลวงปู่ไม่อยากใช้คำว่าเอาจิตจับ หรือเอาสติจับเพราะมันผิดเอาแค่มีสติรับรู้ตาม

• กะโหลกศรีษะด้านบน
• กะโหลกศรีษะหน้าผาก ที่ติดหน้าผากกะโหลกตรงหน้าผาก
• โหนกคิ้วสองข้าง
• กระบอกตาหรือที่เขาเรียกว่าเบ้าตา
• ดั้งจมูก
• กระดูกโหนกแก้ม
• ริมฝีปากด้านบนซึ่งมีฟันติดอยู่
• ริมฝีปากด้านล่างมีฟันติดอยู่
• กระดูกคาง
• กระดูกกรามด้านขวา
• กระดูกหูด้านขวา กระดูกนะ ไม่ใช่ใบหู สภาพของมันเป็นรูลึกเข้าไปในกะโหลกศรีษะ
• กระดูกศรีษะข้างขวา
• กะโหลกศรีษะด้านหลัง
• ย้อนไปถึงกะโหลกศรีษะด้านซ้าย
• กระดูกหูด้านซ้าย
• กรามด้านซ้าย
• กระดูกคางกรามไล่จากกรามซ้ายมาจนถึงปลายคาง
• ริมฝีปากด้านล่างพร้อมฟัน
• กระดูกริมฝีปากด้านบนพร้อมฟัน
• กระดูกโหนกแก้มสองข้าง
• กระดูกจมูกหรือดั้งจมูกมีรูสองรู
• กระดูกเบ้าตาสองข้าง
• กระดูกโหนกคิ้วสองข้าง
• กระดูกหน้าผาก
• กระดูกศรีษะด้านบนหรือที่เรียกว่ากระหม่อม
• ไอร้อนมันจะวิ่งไปตามที่หลวงปู่พูดนะ ถ้าท่านมีสติจับรวบรวมได้สัมผัสตาม
• กระดูกศรีษะด้านหลัง หรือกะโหลกศรีษะด้านหลัง
• กะโหลกศรีษะด้านหลังติดลำคอ ติดก้านคอ
• กระดูกคอด้านหลัง ไล่ลงไปทีละข้อ ทีละข้อนะ
• กระดูกบ่าด้านหลัง มันจะมีแผ่นกระดูกสองอัน